การศึกษาผลผลิตและความคงอยู่ของถั่วพืชอาหารสัตว์ เมื่อปลูกบนคันนาในภาคอีสาน

Main Article Content

บุญฤา วิไลพล

บทคัดย่อ

งานทดลองนี้ได้กระทำขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมของจังหวัดขอนแก่น  บนพื้นที่ของเกษตรกรใน 2 หมู่บ้าน โดยใช้แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ประกอบด้วยถั่ว 6 ชนิด (ถั่วเวอราโนสไตโล, ถั่วสโคฟิลด์สไตโล, ถั่วเอนเดเวอร์สไตโล, ถั่วคุกสไตโล, ถั่วเซคก้าสไตโลและถั่วลิสงนา)


การปลูกถั่วทำโดยเตรียมต้นกล้าในถุงพลาสติก และเมื่ออายุประมาณ 1 เดือนได้ย้ายไปปลูกบนคันนาซึ่งน้ำไม่ท่วม  และการวัดผลผลิตของถั่วทำโคยตัดที่ระดับพื้นดิน


ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าถั่วเวอราโนสไตโล (Stylosanthes hamata cv. Verano) ให้ผลผลิตสูงกว่าถั่วชนิดอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และถั่วชนิดนี้สามารถปรับตัวได้ดีบนคันนาที่น้ำไม่ท่วมและยังไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความคงอยู่อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิไลพล, บุญฤา. (2526 ก.). เทคนิคการผลิตพืชอาหารสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย.ขอนแก่น: ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิไลพล, บุญฤา. (2526). แนวทางการผลิตพืชอาหารสัตว์เพื่อการผลิตปศุสัตว์ในภาคอีสาน. ว. วิทยาศาสตร์ 7- 8 37): 434-452.
Cochran, W.G. and Cox, G.M. (1957). Experimental Designs. New York, John Wiley and Sons. Rufener, W.H. (1971). Cattle and water buffalo production in village of Northeast Thailand. Ph.D. Thesis, University of Illinois, U.S.A.
Vinijsanun, T. (1977). A study on Anthracnose resistance in Stylosanthes spp. KKU - PIP Annual Report. Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand.
Wilaipon, B. (1989). Evaluation of five promising tropical pasture legumes on the communal grazing area in a village of Northeast Thailand. ASPÀC-FFTC Newsletter No. 83.
Wilaipon. B. and Pongskul, V. (1983). Pasture establishment in the farming systems of Northeast Thailand. ASPAC-FFTC Extension Bull. No. 199.