ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพโคนมของเกษตรกรในเขตจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ทัศนีย์ อภิชาติสรางกูร
วราภา คุณภาพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพโคนมตลอดจนปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจำนวน 322 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.5 ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั้งหมดในจังหวัดเชียงใหม่ผลการวิจัยพบว่า  เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีขนาดฝูงโคเฉลี่ย 5.7 ตัวปริมาณน้ำนมเฉลี่ย 20.38 ลิตร / วัน  รายได้เฉลี่ยจากการเลี้ยงโคนมในปี 2531 จำนวน 52,455.02 บาท  ขณะที่มีรายจ่ายเฉลี่ยจำนวน 24,210.28 บาท  ทางด้านการป้องกันโรคโคนมของเกษตรกรพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีการทำวัคซีนและถ่ายพยาธิตามกำหนด นอกจากนี้ ยังมีการป้องกันและรักษาโรคเต้านมอักเสบการตรวจโรคแท้งติดต่อ และวัณโรคเป็นประจำ  ในการวัดความรู้และความเข้าใจในการป้องกันและรักษาโรคโคนมของเกษตรพบว่า  คะแนนเฉลี่ยที่ได้คือ 14.1 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน สำหรับปัญหาและความต้องการอันดับหนึ่งของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมมีปัญหาเรื่องอาหารข้นและต้องการให้ราคาอาหารข้นถูกลง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธาระวนิช, จุฑามาศ. (2531). ธุรกิจโคนม: ความหวังอันเรืองรอง. เกษตรอุตสาหกรรม. 3 (32): 59-66.
สถาบันพัฒนาฝึกอบรมและวิจัยโคนมแห่งชาติ. กรมปศุสัตว์. (2531). การเลี้ยงดูและการจัดการลูกโค ตอน “ การจัดการเลี้ยงลูกโค”. เกษตรอุตสาหกรรม 3 (32): 75-77.
อินทรตุล, ธวัชชัย, หิมารัตน์, วิสุทธิ์, และ คำแยง, สมคิด (2530). ความก้าวหน้าของการเลี้ยงโคนมในจังหวัด เชียงใหม่ระยะ 5 ปี (2525-2529). สถาบันพัฒนาฝึกอบรมและวิจัยโคนมแห่งชาติ. กรมปศุสัตว์ 17 หน้า.