การศึกษาระยะการเจริญของถั่วลิสง (<I>Arachis hypogaea</I>)

Main Article Content

สมจิต ใจดี
เฉลิมพล แซมเพชร

บทคัดย่อ

การศึกษาระยะการเจริญของถั่วลิสง ดำเนินการที่สถานีวิจัยและฝึกอบรมการเกษตร แม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนตุลาคม 2530 - กุมภาพันธ์ 2531 โดยใช้พันธุ์ไทนาน 9 และ CES101 เป็นพันธุ์ศึกษา ปลูกด้วยมือใช้ระยะระหว่างแถว 50 ซม. และระหว่างต้น 12.5 ซม. ปลูกหลุมละ 3 เมล็ด  และทำการตอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ต้น  หลังจากงอกโผล่พื้นผิวดินแล้วก่อนปลูกทำการเตรียมพื้นที่ด้วยการไถและตามด้วยจอบหมุน ใส่ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟตและยิบซั่มในอัตรา 50 กก. P และ 25 กก. S ต่อเฮกแตร์ ตามลำดับ ด้วยวิธีการหว่านและคลาดกลบ  ระหว่างการทดลองให้น้ำพ่นฝอย


 การบันทึกระยะการเจริญใช้อักษร V แทนจำนวนข้อที่เกิดขึ้นบนต้นหลัก (main stem) โดยการสังเกตจากต้นตัวอย่างจำนวน 5 ต้น ทุกวันอักษร R ใช้แทนระยะการเจริญทางการแพร่ขยายพันธุ์ โดยกำหนดให้ R1 คือ ระยะดอกแรกเริ่มบาน R2 เริ่มแทงเข็ม R3 เริ่มสร้างผัก R4 ผักเจริญเต็มที่ R5 เริ่มสะสมน้ำหนักเมล็ด R6 เมล็ดเต็มฝัก R7 เมล็ดเริ่มแก่และ R8 เมล็ดหรือฝักแก่พร้อมเก็บเกี่ยวการบันทึกผลนับตั้งแต่ระยะ R3 เป็นต้นไปใช้วิธีการถอนตัวอย่างพืช  จำนวน 5 ต้น ทุก ๆ 3 วัน เพื่อการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boote, K.J. (1982). Growth stages of peanut (Arachis hypogaea L.) Peanut Sci., 9: 35-40.
Fehr, W.R., Caviness, C.R .; Burmood, D.T .; and Pennington, J.S. (1971). Stage of development descriptions for soybeans, Glycine max (L) Merill. Crop Sci. 11: 929-931.
Hanway, J.J. (1963). Growth stages of corn (Zea mays L.) Agron. J. 55: 487-492.
Shaw, R.H. and Laing, D.R. (1966). Moisture stress and crop response. In Plant Environment and Efficient water Use, ed. W.H. Pierre et al. American Society of Agronomy, Madison.
Vanderlip, R.L. and Reeves, H.E. (1972). Growth stages of Sorghum (Sorghum bicolor (L) Moench.) Agron. J. 64: 13-16.
Waldren, R.P. and Flowerday, A.D. (1979). Growth stages and distribution of dry matter, N.P. and K in winter wheat Agron.J. 71: 391-397.