การใช้ประโยชน์จากการตรึงไนโตรเจนในการผลิตพืชเศรษฐกิจบางชนิดในภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการปลูกถั่วเหลืองในภาคเหนือ เกษตรกรในเขตชลประทานใช้ผงเชื้อไรโซเบียมคลุกเมล็ดก่อนปลูกประมาณร้อยละ 44 ในขณะที่เกษตรกรในเขตเกษตรน้ำฝนจำนวนถึงร้อยละ 80 ไม่เคยใช้ผงคลุกเชื้อไรโซเบียมเลย สำหรับบริเวณที่มีการปลูกถั่วเหลืองเป็นเวลานาน การใช้ผงเชื้อไรโซเบียมไม่ทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะบริเวณดังกล่าวมีเชื้อไรโซเบียมสายพันธุ์พื้นเมืองที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนได้ดี อาศัยอยู่ในดินตามธรรมชาติในปริมาณที่มากอยู่แล้ว แต่ในบริเวณที่ไม่เคยปลูกถั่วเหลืองมาก่อน การใช้ผงเชื้อไรโซเบียมช่วยทำให้การเกิดปมดีขึ้น และมีการตรึงไนโตรเจนมากพอที่จะทำให้ผลผลิตของถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดี การคลุกเชื้อไรโซเบียมจะให้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับจังหวะและปริมาณของฝนที่ตกในภายหลังจากการหยอดเมล็ดที่คลุกเชื้อแล้ว สำหรับการปลูกข้าว เมื่อมีการใช้แหนแดงซึ่งเป็นเฟิร์นน้ำจืดชนิดหนึ่งที่ตรึงไนโตรเจนได้เช่นกัน ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด ทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น และยังเป็นการปรับปรุงดินอีกด้วย แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการในการใช้แหนแดง ซึ่งบทความนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
Article Details
References
คลอดเพ็ง, ถนอม., ประเสริฐชัย, กิจ. และ พรมศิริ, อำพรรณ. (2526). ผลของการไถกลบแหนแดงต่อสมบัติบางประการของดิน. ว. วิทยุ. กษ. (16) 2.85-87.
วงค์ตันกาศ, นพพร. (2528). การศึกษาผลกระทบของฟอสฟอรัสต่อผลผลิต ปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของแหนแดง และผลของปริมาณฟอสฟอรัสในใบแหนแดงที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแหนแดงภายใต้สภาพที่ขาดฟอสฟอรัส. ปัญหาพิเศษ, ภาควิชาปฐพีศาสตร์ และอนุรักษ์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 48 หน้า.
ฝ่ายฝึกและนิเทศ. (2528). รายงานการศึกษาสภาพการผลิตและต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองฤดูฝนเขตเกษตรน้ำฝน. จังหวัดสุโขทัย. สำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่. 27 หน้า.
ฝ่ายวิจัยสินค้าเกษตรกรรมที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กองวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2530). การผลิต และการตลาดถั่วเหลืองปีเพาะปลูก 2528 / 29. เอกสารเศรษฐกิจการเกษตรเลขที่ 37/2530. 63 หน้า.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2528). ข้อเท็จจริงทางการเกษตรในประเทศไทย. เอกสารเศรษฐกิจการเกษตรเลขที่ 56. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 149 หน้า.
ศูนย์พัฒนาภาคเหนือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2529). สภาวะเศรษฐกิจและแผนการลงทุนที่สำคัญของภาคเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5. เอกสาร 73 หน้า.
Bhromsiri, A. and Shutsrirung, A. (1989). Potential of rhizobial inoculation for improvement of soybean yield under upland rainfed area of northern Thailand. Paper presented at the Internation Seminar on Yield Maximization of Feedgrains Through Soil and Fertilizer Management, May 12-16, Bangkok, Thailand.
Bhromsiri, A. and Wada, H (1983). Experiments to grasp general concepts of N-cycle: Chiang Mai paddy field. in Paddy Nitrogen Economy. Nodai Research Institute, Tokyo Univ. of Agriculture. pp. 109-120.
Bhromsiri, A. and Thompson, J.A. (1987). Soybean-rhizobium compatibility and the need to inoculate soybean in Thailand. Paper presented at the Internation Symposium on The Contribution of Biological Nitrogen Fixation to Plant Production. August 3-7, Cisarua, Indonesia.