การใช้กรดจิบเบอเรลลิคเพื่อยืดช่อดอก ชักนำให้ไร้เมล็ด และเพิ่มขนาดของผลองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา
Main Article Content
บทคัดย่อ
องุ่นพันธุ์ไวท์มะละกา (White Malaga) ได้รับความนิยมรับประทานผลสดมานาน แต่การแก้ปัญหาช่อดอกสั้น ผลมีเมล็ด ผลขนาดเล็กและไม่สม่ำเสมอ ยังมีข้อมูลจำกัด งานวิจัยนี้จึงทำเพื่อหาวิธีใช้สาร GA3 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยทำการทดลอง 1) การยืดช่อดอกด้วยการพ่นสาร GA3 เข้มข้น 2, 4 หรือ 6 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อช่อดอกมีอายุ 15, 20 หรือ 25 วันหลังตัดแต่งกิ่ง เปรียบเทียบกับไม่พ่นสาร (กรรมวิธีควบคุม) พบว่า การพ่น GA3 4 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่อายุ 20 วันหลังตัดแต่งกิ่ง ทำให้ช่อดอกยืดยาวเพิ่มขึ้น 119 เปอร์เซ็นต์ 2) การชักนำให้ไร้เมล็ดด้วยการพ่น GA3 เข้มข้น 25, 50 หรือ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ระยะดอกบาน -3, 0, 3 หรือ 6 วัน เปรียบเทียบกับไม่พ่นสาร (กรรมวิธีควบคุม) พบว่า การพ่น GA3 ที่ระยะดอกบานทุกความเข้มข้นสามารถชักนำให้ไร้เมล็ดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ 3) การเพิ่มขนาดผลองุ่นด้วยการพ่น GA3 เข้มข้น 25, 50 หรือ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร อย่างเดียว หรือร่วมกับ CPPU 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่ระยะหลังดอกบานสองสัปดาห์ พบว่า การพ่น GA3 50 + CPPU 5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้ผลองุ่นมีขนาดใหญ่ที่สุด ผลกว้าง 1.82 เซนติเมตร ยาว 3.35 เซนติเมตร มีน้ำหนักผล 7.58 กรัม น้ำหนักช่อ 376.37 กรัม TSS 20.37 เปอร์เซ็นต์ และ TA 0.80 เปอร์เซ็นต์ จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการใช้ GA3 ที่ความเข้มข้นและระยะเวลาที่เหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มความยาวช่อ ชักนำผลไร้เมล็ด และเพิ่มขนาดผลองุ่นพันธุ์ไวท์มะละกาได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Abu-Zahra, T.R. 2010. Berry size of Thomson Seedless as influenced by the application of gibberellic acid and cane girdling. Pakistan Journal of Botany 42(3): 1755-1760.
Ben-Arie, R., P. Sarig, Y. Cohen-Ahdut, Y. Zutkhi, L. Sonego, T. Kapulonov and N. Lisker. 1998. CPPU and GA3 effects on pre- and post harvest quality of seedless and seeded grapes. Acta Horticulturae 463: 349-358.
Chatbanyong, R., S. Nilnond and V. Siripok. 2010. Fruiting response of ‘Marroo seedless’ grape to GA3 application. Agricultural Science Journal 41(Suppl. 3/1): 421-424. (in Thai)
Department of Agricultural Extension. 2016. Grape. (Online). Available: http://www.agriinfo.doae.go.th/year59/plant/rortor/fruit2/grape.pdf (September 25, 2016). (in Thai)
Ezzahouani, A. 2000. Effects of forchlorfenuron (CPPU) and girdling on table grape cultivars “Perlette” and “Italia”. OENO One 34(2): 57-60.
Formolo, R., L. Rufato, A.A. Kretzschmar, C. Schlemper, M. Mendes, J.L. Marcon Filho and A.P. Lima. 2010. Gibberellic acid and cluster thinning on seedless grape ‘BRS Clara’ in Caxias do Sul, Rio Grande do Sul State, Brazil. Acta Hoticulturae 884: 467-471.
Jaidee, S. 2010. Effects of growth regulators on yield and quality of table grape in tropic humidity. M.S. Thesis. Suranaree University of Technology, Nakhon Ratchasima. 73 p. (in Thai)
Kittwatsopon, K., P. Karintunyakit and K. Suvittawat. 2014. Effect of GA3 and CPPU on growth and berry quality of Maroo seedless grape. Khon Kaen Agriculture Journal 42(Suppl. 3): 71-74. (in Thai)
Nilnond, S., R. Yuwansiri, C. Sukumalanandana and P. Kermanee. 1996. Effects of gibberellic acid on seed and berry development in ‘White Malaga’ grape at Doi Inthanon Chiang Mai province. Kasetsart Journal (Natural Science) 30(2): 157-162. (in Thai)
Peacock, W.L. 2001. Grape Notes. Agricultural BLDG., County Civic Center, California, USA.
Skinkis, P.A., J.W. Pscheidt, M.L. Moretti, V.M. Walton, K.C. Achala and C. Kaiser. 2019. 2019 Pest Management Guide for Wine Grapes in Oregon. Oregon State University, Corvallis. 46 p.