ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ ของสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝางจำกัด อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วรางคณา ติ๊บโปธา
สุกิจ กันจินะ
รุจ ศิริสัญลักษณ์
พิมพ์ใจ สีหะนาม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ และวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการดังกล่าวของเกษตรกรในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด จำนวน 188 ราย ระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 53.09 ปี และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา โดยเกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกหอมหัวใหญ่เฉลี่ย 19.96 ปี และมีรายได้จากการปลูกหอมหัวใหญ่เฉลี่ย 99,930.85 บาทต่อปี มีพื้นที่ปลูกหอมหัวใหญ่เฉลี่ย 5.36 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตนเองและการกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ เช่น สหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ฝาง จำกัด และกองทุนหมู่บ้าน เพื่อการผลิตหอมหัวใหญ่ เกษตรกรประมาณครึ่งหนึ่งมีแหล่งจำหน่ายหอมหัวใหญ่เพียงแหล่งเดียวและได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรเฉลี่ยจาก 2 ช่องทาง ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอบรม (ร้อยละ 67.60) และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือในด้านการผลิตหอมหัวใหญ่ (ร้อยละ 67.00) ในส่วนของการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ พบว่า เกษตรกรมีระดับการจัดการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ พบว่า ความรู้ในด้านการจัดการการผลิตและพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกหอมหัวใหญ่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.01 และ P < 0.05 ตามลำดับ) ดังนั้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่แก่เกษตรกร อาทิ การผลิต และการตลาด เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการการผลิตหอมหัวใหญ่ของตนให้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Agricultural Commodities Promotion and Management. 2021. Onion. (Online). Available: http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2565/21onion.pdf (May 2, 2022). (in Thai)

Cooperative Promotion Department. 2021. Report cooperative profile. (Online). Available: https://app1.cpd.go.th/profile/report_con_step2.asp (May 3, 2022). (in Thai)

Department of Foreign Trade. 2021. The results of the allocation of import-export volumes of agricultural products. (Online). Available: https://www.dft.go.th/th-th/Information/show-import-export-volume/ArticleId/20883/20883 (May 2, 2022). (in Thai)

Extension and Training Office. 2022. Onion. (Online). Available: http://eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/herb_gar/hom_hua.pdf (May 2, 2022). (in Thai)

Footan, C., S. Sreshthaputra, W. Intrauccomporn and T. Pankasemsuk. 2017. Factors affecting farmers’ adoption in good agricultural practices for safe vegetable production in Mae Tha Nuea Royal Project Development Center, Chiang Mai province. Journal of Agriculture 33(3): 397- 404. (in Thai)

Mamiro, D.P., A.P. Maerere, K.P. Sibuga, M.J. Ebaugh, S.A. Miller, H.D. Mtui, E. Mgembe, C.P. Msuya-Bengesi and A. Aloyce. 2014. Local community’s knowledge on onion production, pests and pests management in Kilosa and Kilolo districts, Tanzania. Tanzania Journal of Agricultural Sciences 13(2): 18-26.

Meena, S., I.P. Singh and R.L. Meena. 2016. Cost of cultivation and returns on different cost concepts basis of onion in Rajasthan. Economic Affairs 61(1): 11-16.

Office of Agricultural Economics. 2021a. Onion. (Online). Available: http://mis-app.oae.go.th/product/onion (May 30, 2022). (in Thai)

Office of Agricultural Economics. 2021b. The table shows the details of the onion. (Online). Available: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/1_Onion%2064%20dit.pdf (May 5, 2022). (in Thai)

Tulathammakul, F. 2000. Market intervention of agricultural commodity: A case study of onion in Chiang Mai province. M. Econ. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai. 123 p. (in Thai)

Vanichbuncha, K. and T. Vanichbuncha. 2018. SPSS for Windows. 31th ed. Samlada Printing, Bangkok. 531 p.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. Harper and Row, New York. 1130 p.