อิทธิพลตัวเร่งและความเข้มข้นกรดบอริคในการวิเคราะห์โปรตีน

Main Article Content

ไพโรจน์ วิริยจารี
เจนจิรา เคารพธรรม

บทคัดย่อ

เนื้อวัว (beef) เนื้อหมู (pork) แป้งสาลี (wheat flour) และถั่วเหลืองผง (soy bean powder) ใช้เป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีน โดยศึกษาตัวเร่งการย่อยสลายสามชนิดคือ1)  2) และ 3)  เพื่อเปรียบเทียบหาตัวเร่งที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ในการย่อยโปรตีน และศึกษาอิทธิพลความเข้มข้นของกรดบอริคในการจับแอมโมเนีย โดยใช้กรดบอริคความเข้มข้นร้อยละ 2 และ 4 ในขั้นตอนการกลั่นวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีน


ผลการทดลองพบว่า  เป็นตัวเร่งการย่อยสลายโปรตีน ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดกล่าวคือ สามารถย่อยสลายเนื้อวัวคิดเป็นโปรตีนร้อยละ 16.33   0.39 เนื้อหมูคิดเป็นโปรตีนร้อยละ 19.75   2.27 แป้งสาลีคิดเป็นโปรตีน ร้อยละ 10.02   0.23 และถั่วเหลืองผงคิดเป็นโปรตีนร้อยละ 35.76   6.17


ผลการทคลองอิทธิพลความเข้มข้นของกรดบอริคในการจับแอมโมเนีย ในขั้นตอนการกลั่นวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนพบว่า เนื้อวัวและแป้งสาลีใช้กรดบอริค ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 2 และ 4 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเป็นไปได้ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ และการใช้กรดบอริคร้อยละ 4 มีความเหมาะสมมากที่สุด ส่วนตัวอย่างเนื้อหมูและถั่วเหลืองผง การใช้กรดบอริคที่ความเข้มนร้อยละ 2 และ 4 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

AOAC. (1975). Official Method of Analysis. 12 th ed. Washington , D.C : The Association of Official Analytical Chemists.

King, R.D. (1978). Development in Food Analysis Technique. Applied Science Publishers. London. Page 43 -67.

Mitchell, H.L. (1972). Microdetermination of nitrogen in plant tissues. J.Assoc. Offic. Anal Chemists, 55 : 1.

Pearson, D. (1976). The Chemical Anzlysis of Foods. Churchill Livingstone. London and New York. page 9 - 14.

Pomeranz, Y. and Meloan. C.E. (1978). Food Analysis : Theory and Practice. AVI Publishing Company,Inc. Westport, connecticut. page 671 – 681 .