การศึกษาคุณสมบัติของที่ดิน เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการจำแนกที่ดินสำหรับระบบพืช
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งก็เพื่อศึกษาถึงความสำคัญของลักษณะที่ดิน ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติของที่ดิน และคุณภาพที่ดินบางชนิด ในแหล่งที่มีการใช้ที่ ดินอย่างหนาแน่นในภาคเหนือโดยมีระบบพืชที่แตกต่างกันลักษณะของที่ดินดังกล่าวจะนำไปพิจารณาเพื่อพัฒนาระบบการจำแนกที่ดินสำหรับระบบพืช การศึกษาวิจัยครั้งนี้เร่มดำเนินการเมื่อต้นปี พ.ศ. 2527 โดยเลือกแหล่งที่ดินทำการศึกษาทั้งหมด 27 แห่งในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย การเก็บข้อมูลในสนามประกอบด้วยสภาพภูมิประเทศ ดิน ระบบการปลูกพืชสภาพการให้น้ำชลประทานและแหล่งน้ำ ภูมิอากาศ และสภาพทางสังคม-เศรษฐกิจ ลักษณะของที่ดิน 7 ชนิด ประกอบด้วย สภาพพื้นที่ การระบายน้ำของดิน เนื้อดินบน ปฏิกิริยาดิน ค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ประมาณร้อยระของประจุบวกที่เป็นด่าง และสถานะความอุดมสมบูรณ์ของดินเมื่อนำมาวิเคราะห์ประเมินผลในการจัดแบ่งกลุ่มที่ดินโดยวิธี Cluster Analysis สามารถแบ่งกลุ่มที่ดินออกได้เป็น 10 กลุ่มด้วยกัน และพบว่าลักษณะของที่ดินทั้ง 7 ชนิด มีความเหมาะสม กลุ่มที่ดินจำนวน 8 กลุ่มแสดงค่าดรรชนีความตล้ายคลึงกันมากกว่า 0.82 ขึ้นไปเกษตรกรปฏิบัติอยู่ในพื้นที่ ๆ ศึกษาครั้งนี้จำแนกได้ถึง 13 ระบบด้วยกัน กล่าวโดยทั่วไปพบว่าจำนวน 19 แหล่งที่ดินเป็นระบบการปลูกพืชสามครั้งจำนวน 8 แหล่งที่ดินซึ่งแสดงความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำชลประทานที่อุดมสมบูรณ์อย่างเด่นชัด ลักษณะของที่ดินทั้งหมดจำเป็นต้องมีการทดสอบและศึกษาวิจัยต่อไป เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบการจำแนกที่ดินสำหรับระบบพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองสำรวจดิน. (2523). คู่มือการจำแนกความเหมาะสมของที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ เอกสารวิชาการเล่มที่ 28, กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ฤกษ์เกษม, กนก. (2525). "ประสบการณ์ การถ่ายทอดระบบการปลูกพืชในที่ราบลุ่ม เชียงใหม่-ลำพูน" เอกสารการประชุมทางวิชาการระบบการปลูกพืช ครั้งที่ 4, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศรีมงคล, กฐิน., ณ ลำปาง, ดุษฎี และ พัฒนพงศา, นรินทร์ชัย. (2526). "การทดสอบการปลูกพืชตลอดปีบนพื้นที่เกษตรกร" เอกสารการประชุมทางวิชาการระบบการปลูกพืชครั้งที่ 4, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรฤกษ์, วันเพ็ญ. (2528 ). "พัฒนาการทางประวัติความเป็นมาและการจัดการเกี่ยวกับระบบการชลประทานในภาคเหนือของประเทศไทย" สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกะสิงห์, เมธี ยิบมันตะสิริ, พฤกษ์ ฤกษ์เกษม, เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม, กนก คีติสาร, มนู วุฒิการ, ภัททนันท์ และ ธานี, พิชิต. (2527). "สมบัติเชิงผลวัตบางประการของระบบเกษตรในเขตรับน้ำโครงการชลประทานแม่แตงเชียงใหม่" เอกสารโครงการศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร มหาวิทยาลัยชียงใหม่.
Gallup, D.L., Kashemsanta, S. and Pimpanda. (1967). Soil Survey Interpretation Handbook for Northeast Thailand. Soil Survey Report No.60 Soil Survey Division Depl of and Development, Bangkok.
Lampaopong, B., Pinthong, J., Chalothorn, C. and Kaida, Y. (1984). Chiang Mai Lamphun Valley Thailand Asian Rice-Land Inventory: A Descriptive Atlas No 2. Center for Southeasl Asian Studies, Kyoto University.
Multiple Cropping Project. (1976). Annual Report 1975-1976. Faculty of Agriculture Chiang Mai University.
Multiple Cropping Project. (1980). The multiple cropping project, Faculty of Agriculture, culture, Chiang Mai University.
Pinthong, J. (1979). The nature and origins of mottle patterns in soil B horizon in term of variation in these patterns partially and temporally. Ph. D. Thesis (Unpublished the Univ of Reading).
Pinthong, J., Lumpaopong, B. and Chalothorn, C. (1983). Present Land uses for Agricultural as Affected by Environmental Factors in Chiang Mai-Lumphun valley. Thai J. Agric. Soi. 16: 153-172.
Rayner, J.H. (1966). Classification of Soil by numerical method. J. Soil Soi 17. pp. 79-92.
Sneath, P.H.A. and Sokal, R.R. (1973). Numerical Taxonomy. San Francisco; W.H. Freeman.