การสงวนสภาพฟิสิกส์ดินและความชื่นในดินโดยวิธีจัดการหน้าดินสำหรับระบบการปลูกพืชภายใต้สภาพน้ำฝน

Main Article Content

มัตติกา พนมธรนิจกุล

บทคัดย่อ

การศึกษา เกี่ยวกับการสงวนสภาพ ฟิสิกส์ของดิน และความชื้นในดิน โดยวิธีจัดการหน้าดิน สำหรับระบบการปลูกพืชภายใต้สภาพน้ำฝน ได้กระทำระหว่างเดือนกันยายน 2528 ถึงเมษายน 2530 ในเขต อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินถึงผลกระทบของวิธีการเตรียมดินและคลุมดินต่อสภาพฟิสิกส์ของดิน และการเก็บน้ำในดิน รวมทั้งผลผลิตของพืชที่ปลูกภายใต้สภาพน้ำฝน แผนการทดลองได้กระทำ 3 ซ้ำ โดยวางแผนแบบ 3 x 2 แฟคทอเรียลในระบบ RCBD (Randomized Complete Block Design) มีการปลูกพืช 3 ช่วง คือปลูกข้าวสาลี ถั่วลิสง และข้าวสาลี ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2528 - มกราคม 2529, มิถุนายน - สิงหาคม 2529 และ ตุลาคม 2529 - มกราคม 2530 ตามลำดับ ได้ประเมินสมบัติทางฟิสิกส์ดินบางประการภายหลังปลูกพืชแต่ละชนิด และประเมินปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ในดินในระยะต่าง ๆของการเจริญเติบโตของข้าวสาลี 4 ระยะด้วยกัน ตลอดถึงการประเมินผลผลิตของพืชที่ได้แต่ละครั้ง ผลการทดลองในปีแรกปรากฏว่าการเตรียมดิน โดยใช้ไถจานหรือใช้จอบเล็กต่างมีผลทำให้สมบัติทางฟิสิกส์ดินบางประการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสมมากขึ้น แก่การเตรียมดินด้วยไถจานหรือไม่เตรียมดินต่างทำให้ผลผลิตข้าวสาลีสูงกว่า การเตรียมดินด้วยจอบเล็ก ส่วนการคลุมดินมีผลในการสงวนน้ำในดินสูงกว่าการไม่คลุมดิน สำหรับการทดลองในปีที่สองจากการจัดการหน้าดินก่อนปลูกถั่วลิสงและปลูกข้าวสาลี ต่างให้ผลคล้ายคลึงกันและแตกต่างจากผลในปีแรกกล่าวคือ การเตรียมดินด้วยไถจานมีผลช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน โดยทำให้ค่าความหนาแน่นรวมลดลง ความจุอากาศ เม็ดดินที่เสถียร (ของดินบน) และอัตราการซึมน้ำผ่านผิวดินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเตรียมดินด้วยจอบเลิกหรือไม่เตรียมดินเลย นอกจากนี้ไถจานมีแนวโน้มทำให้ดินชั้นล่าง (30 - 45 ซม.) แน่นขึ้นและทำให้ความชื้นในชั้นไถพรวนลดลง แต่ให้ผลผลิตแก่พืชที่ปลูกทั้งสองฤดูสูงกว่าการใช้จอบเล็กหรือการไม่เตรียมดินเลย การคลุมดินช่วยปกป้องโครงสร้างที่ดีของดินจากการกระแทกของเม็ดฝน ป้องกันการทำลายเม็ดดินที่เสถียรและช่วยสงวนความชื้นสำหรับการเจริญเติบโตของข้าวสาลีในช่วงต่าง ๆได้เป็นอย่างดีและมีผลทำให้ผลผลิตของพืชทั้งสองฤดูสูงกว่าการไม่คลุมดิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Baver, L.D. (1968). Physical Properties of Soils and Tillage. Soil Physics. Charles E. Tuttle Co., Tokyo.

Burwell, R.E., Allmaras, R.R. and Sloneker, L.L. (1966). Structural alteration of soil surfaces by tillage and rainfall. J. Soil Water Conserv. 21: 61-63.

Burwell, R.E., Sloneker, L.L. and Nelson, W.W. (1986). Tillage influences water intake. J. Soil Water Conserv. 23: 1 85-187.

Hillel, D. (1980). "Fundamentals of Soil Physics." Academic Press, New York.

Johnson, C.B. and Moldenhaver, W.C. (1979). Effect of chisel versus moldboard plowing on soil erosion by water. Soil Sci. Soc. Am. J. 43:177-179.

Lindstrom, M.J. and Onstad, C.A. (1982). Tillage systems influence on soil physical parameters and infiltration after planting. Minn. Agric. Exp. Stn. Sci. J. Series 12: 123.

Lindstrom, M.J., Voohees, W.B. and Randall, G.W. (1981). Long term tillage effects on interrow runoff and infiltration. Soil Sci. Soc. Am. J. 45: 945-948.

Voorhees, W.B., Senst, C.G. and Nelson, W.W. (1978). Compaction and soil structure modification by wheel traffic in the northern corn belt. Soil Sci. Soc. Am. J. 42: 344-349.

W.B. (1979). Soil tilth deterioration under row cropping in the northern corn belt: Influence of tillage and wheel traffic. J. Soil Water Conserv. 34:184-185.