ผลของความร้อนแบบฟลูอิดไดซ์เบดระดับห้องปฏิบัติการต่อการปนเปื้อนราบางชนิดและคุณภาพของเมล็ดข้าวเปลือก

Main Article Content

เกวลิน คุณาศักดากุล
กัลยา บุญสง่า
เกศกนก เอี่ยมสอาด
วิบูลย์ ช่างเรือ
เยาวลักษณ์ จันทร์บาง

บทคัดย่อ

การตรวจสอบราที่ติดมากับเมล็ดข้าวเปลือกขาวดอกมะลิ 105 หลังการเก็บเกี่ยวปี พ.ศ. 2562 พบเชื้อรา Curvularia sp., Fusarium sp., Aspergillus niger, A. flavus และ Penicillium sp. คิดเป็นร้อยละการติดเชื้อรวมทุกเชื้อ 92.25 และเมล็ดมีความงอกร้อยละ 93.50 เมื่อทดสอบผลของการให้ความร้อนแบบฟลูอิดไดซ์เบดระดับห้องปฏิบัติการ (Christison scientific, UK) ต่อปริมาณการปนเปื้อนราบางชนิดและความงอกของเมล็ดข้าว โดยตั้งค่าเครื่องมือที่ระดับความแรงลม 3.7 เมตร/วินาที กำหนดชุดการทดลอง โดยตั้งค่าระดับอุณหภูมิ ช่วงห่าง 5 oC ที่ 60-100 oC ระยะเวลา 90 และ 120 วินาที ใช้น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 200 กรัม พบว่า ที่ระดับอุณหภูมิสูงขึ้นสามารถลดร้อยละการปนเปื้อนราบนเมล็ดข้าวเปลือกได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และทำให้เมล็ดข้าวมีร้อยละความงอกลดลงด้วย การใช้น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 200 กรัม อุณหภูมิที่ 65OC เป็นระยะเวลา 120 วินาทีเป็นระดับที่เหมาะสมที่สุด สามารถลดการปนเปื้อนได้มากกว่าร้อยละ 20 โดยยังคงความงอกของเมล็ดไว้ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่วนอุณหภูมิที่ระดับ 70 oC ขึ้นไปทำให้ความงอกของเมล็ดลดลงต่ำกว่าร้อยละ 80 ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี ซึ่งการทดลองกับเมล็ดข้าวเปลือกพันธุ์ปทุมธานี 1 ให้ผลที่สอดคล้องกัน และยังพบว่า การใช้อุณหภูมิสูงกว่า 85 oC ทำให้คุณภาพการสีของเมล็ดข้าวเปลือกลดลงจากดีมากเป็นดี และจากการปลูกเชื้อรา A. niger ในระดับร้อยละ 25, 50, 75 และ 100 ลงบนเมล็ดข้าวเปลือก และนำไปผ่านเครื่องมือที่ทำให้เกิดสภาวะฟลูอิดไดซ์เบดในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าอุณหภูมิที่ 75-80 oC สามารถลดอัตราการปนเปื้อนรา A. niger ได้สูงกว่าร้อยละ 50 ในทุกระดับร้อยละของการปลูกเชื้อ ขณะที่การทดสอบเพื่อลดเชื้อรา Curvularia sp. และ Fusarium sp. พบว่า ราทั้งสองชนิดทนต่อการให้ความร้อนแบบฟลูอิดไดซ์เบดได้น้อยกว่า รา A. niger โดยการใช้อุณหภูมิที่ 60 oC สามารถลดการปนเปื้อนได้มากกว่าร้อยละ 50 ในทุกระดับร้อยละของการปลูกเชื้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เกวลิน คุณาศักดากุล, ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่

Lecturer

References

Diba, K., P. Kordbacheh, S.H. Mirhendi, S. Rezaie and M. Mahmoudi. 2007. Identification of Aspergillus species using morphological characteristics. Pakistan Journal of Medical Sciences 23(6): 867-872.

International Seed Testing Association. 2023. International Rules for Seed Testing. (Online). Available: https://www.seedtest.org/api/rm/TSCE9G9KXWC668E/ista-rules-2023-02-sampling-final.pdf. (February 15, 2023).

Jittanit, W., G. Srzednicki and R.H. Driscoll. 2013. Comparison between fluidized bed and spouted bed drying for seeds. Drying Technology 31(1): 52-56.

Karbassi, A. and Z. Mehdizadeh. 2008. Drying rough rice in a fluidized bed dryer. Journal of Agricultural Science and Technology 10: 233-241.

Mheen, T.I., H.S. Cheigh, A.N. Ragunathan and K.S. Majumder. 1982. Studies on the fungi in stored rice. Microbiology and Biotechnology Letters 10(3): 191-196.