การวิเคราะห์รูปแบบการทำประตูของทีมชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบการทำประตูฟุตบอลของทีมชนะเลิศและทีมคู่แข่งในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แมทช์การแข่งขันของทีมชนะเลิศ จำนวน 7 แมทช์ แล้วนำผลที่บันทึกได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสมรรถนะการยิงประตู แบบสถิติเชิงบรรยาย นำเสนอเป็นตารางความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ด้วยสถิติ independent samples t-test ผลการวิจัยพบว่าทีมชนะเลิศมีรูปแบบการทำประตูที่นิยมมากที่สุด คือ ความสามารถเฉพาะตัว (7.71±4.57) การส่งบอลด้านข้างสนาม (3.57±2.23) และการส่งบอลทะลุทะลวง (1.71±1.80) พื้นที่ในการทำประตูที่มากที่สุด คือ เขตโทษ (10.71±3.95) ช่วงเวลาในการทำประตูที่มากที่สุด คือ ครึ่งแรก (8.29±4.23) และผลลัพธ์ในการทำประตูที่มากที่สุด คือ การยิงไม่เข้ากรอบประตู (6.43±2.88) และฝ่ายรับป้องกันได้ (5.28±2.50) ทีมคู่แข่งมีรูปแบบการทำประตูที่นิยมมากที่สุด คือ ความสามารถเฉพาะตัว (3.43±3.16) และลูกตั้งเตะ (2.14±0.90) พื้นที่ในการทำประตูมากที่สุด คือ เขตโทษ (4.14±1.77) ช่วงเวลาในการทำประตูที่มากที่สุด คือ ครึ่งหลัง (4.57±2.44) และผลลัพธ์ในการทำประตูที่มากที่สุด คือ การยิงไม่เข้ากรอบประตู (4.00±2.58) และฝ่ายรับป้องกันได้ (2.43±2.23) เมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการทำประตูของทีมชนะเลิศและทีมคู่แข่ง พบว่ารูปแบบการทำประตู การส่งบอลด้านข้างสนาม การเล่นลูกนิ่ง การส่งบอลทะลุทะลวง พื้นที่ในการทำประตู เขตโทษ และผลลัพธ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบการทำประตูฟุตบอลของทีมชนะเลิศและทีมคู่แข่งในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แมทช์การแข่งขันของทีมชนะเลิศ จำนวน 7 แมทช์ แล้วนำผลที่บันทึกได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสมรรถนะการยิงประตู แบบสถิติเชิงบรรยาย นำเสนอเป็นตารางความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ด้วยสถิติ independent samples t-test ผลการวิจัยพบว่าทีมชนะเลิศมีรูปแบบการทำประตูที่นิยมมากที่สุด คือ ความสามารถเฉพาะตัว (7.71±4.57) การส่งบอลด้านข้างสนาม (3.57±2.23) และการส่งบอลทะลุทะลวง (1.71±1.80) พื้นที่ในการทำประตูที่มากที่สุด คือ เขตโทษ (10.71±3.95) ช่วงเวลาในการทำประตูที่มากที่สุด คือ ครึ่งแรก (8.29±4.23) และผลลัพธ์ในการทำประตูที่มากที่สุด คือ การยิงไม่เข้ากรอบประตู (6.43±2.88) และฝ่ายรับป้องกันได้ (5.28±2.50) ทีมคู่แข่งมีรูปแบบการทำประตูที่นิยมมากที่สุด คือ ความสามารถเฉพาะตัว (3.43±3.16) และลูกตั้งเตะ (2.14±0.90) พื้นที่ในการทำประตูมากที่สุด คือ เขตโทษ (4.14±1.77) ช่วงเวลาในการทำประตูที่มากที่สุด คือ ครึ่งหลัง (4.57±2.44) และผลลัพธ์ในการทำประตูที่มากที่สุด คือ การยิงไม่เข้ากรอบประตู (4.00±2.58) และฝ่ายรับป้องกันได้ (2.43±2.23) เมื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการทำประตูของทีมชนะเลิศและทีมคู่แข่ง พบว่ารูปแบบการทำประตู การส่งบอลด้านข้างสนาม การเล่นลูกนิ่ง การส่งบอลทะลุทะลวง พื้นที่ในการทำประตู เขตโทษ และผลลัพธ์ในการทำประตู ผู้รักษาประตูป้องกันได้และบอลชนคาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ถือเป็นลิขสิทธ์ของวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำข้อมูลทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชก่อนเท่านั้น
The content and information in the article published in Wichcha journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, It is the opinion and responsibility of the author of the article. The editorial journals do not need to agree. Or share any responsibility.
References
ก.รวีวุฒิ ระงับเหตุ. (2564). ระบบการวิเคราะห์สมรรถนะในกีฬาวอลเลย์บอล: ประสิทธิภาพสมรรถนะในการทำแต้ม. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 40(2), 71-81.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2564, จาก: https://www.satc.or.th/upload/document/file/documentfile_922019180101.pdf.
กาหลง เย็นจิตต์. (2553). วิทยาศาสตร์การกีฬาฟุตบอล. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย.
นพพร เอกสาตรา. (2550). ยุทธวิธีการยิงประตูฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี ค.ศ. 2006 ณ ประเทศเยอรมนี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (พลศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
นิพล โนนจุ้ย. (2564). การวิเคราะห์รูปแบบการยิงประตูฟุตบอลโลก ปี 2018. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 27(1), 120-125.
นิพิฐพนธ์ มาลาหอม และชัชชัย โกมารทัต. (2556). การวิเคราะห์รูปแบบการทำประตูของทีมชาติสเปนและทีมคู่แข่ง ขันในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 14(1), 24-38.
ภาณุพงศ์ รุ่งมิตรจรัสแสง นิรอมลี มะกาเจ และพรพล พิมพาพร. (2556). การวิเคราะห์รูปแบบการยิงประตูของทีมชาติสเปนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 และการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 (หน้า 1091-1100). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
Almeida, C., Santos, R., Mantovani, L. and Teoldo, I. (2022). Players’ participation in team possession of the 2014 FIFA world cup semi-finalists. Human Movement, 23(1), 44-49, doi: https://doi.org/10.5114/hm.2021.104186.
Yi, Q., Jia, H., Liu, H. and Gómez, A.M. (2018). Technical demands of different playing positions in the UEFA champions League. International Journal of Performance Analysis in Sport, 18(6), 926-937, doi: https://doi.org/10.1080/24748668.2018.1528524.