ระบบการผลิตไก่เบตงเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
คำสำคัญ:
ไก่เบตง, ระบบการผลิตเชิงพาณิชย์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการผลิตไก่เบตงเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรที่เลี้ยงไก่เบตงเชิงพาณิชย์จำนวน 9 ราย และ ผู้รวบรวมไก่เบตงมีชีวิตจำนวน 2 ราย โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การผลิตไก่เบตงเชิงพาณิชย์ในพื้นที่ เป็นการดำเนินการในรูปแบบเครือข่ายผู้เลี้ยง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกขาย โดยสามารถผลิตลูกไก่ขายสัปดาห์ละ 600-700 ตัว และจำหน่ายลูกไก่ในราคาตัวละ 26-40 บาท กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่เลี้ยงไก่เบตงขุน เกษตรกรกกลูกไก่ในคอกนาน 14-21 วัน แล้วเลี้ยงในคอกต่อไปจนถึงอายุ 8-10 สัปดาห์ จากนั้นจึงขุนไก่จนถึงระยะส่งขาย ใช้เวลาเลี้ยง 120-180 วัน เพื่อให้ได้น้ำหนักตัวตรงตามตลาดต้องการ คือ เพศผู้ เท่ากับ 2.0-2.5 กก. และเพศเมีย เท่ากับ 1.5-2.0 กก. ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มีการเลี้ยงทั้งแบบขังคอก กึ่งขังกึ่งปล่อย และปล่อย แต่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงแบบกึ่งขังกึ่งปล่อย สำหรับรูปแบบการให้อาหาร พบว่า ในระยะกกและระยะเล็ก เกษตรกรให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีน 21% และ 16-21% ตามลำดับ ส่วนในระยะรุ่นถึงระยะส่งขาย ให้อาหารสำเร็จรูปที่คลุกเคล้ากับข้าวหุงสุก และกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มผู้รวบรวมไก่เบตงมีชีวิตเพื่อนำไปชำแหละ โดยรับซื้อไก่มีชีวิตหน้าฟาร์มในราคากิโลกรัมละ 110-170 บาท
References
Buakeeree, K. and P. Nualhnuplong. 2016. Effects of dietary protein and energy levels on growth performances and reproductive system development in female Betong chicken (Gallus domesticus) during growing-pullet period. Khon Kaen Agri. J. 44(3): 469-478.
Chen, X., W. Jiang, H.Z. Tan, G.F. Xu, X.B. Zhang, S. Wei and X.Q. Wang. 2013. Effect of outdoor access on growth performance, carcass composition, and meat characteristics of broiler chickens. Poult. Sci. 92(2): 435-443.
Diversity Research Section, Bureau of Animal Husbandry and Genetic Improvement, Department of Livestock Development. 2014. Announcement of native animal breed, Betong chicken. [Online]. Available http://breeding.dld.go.th/biodiversity/chm/pvp_chm/pvp_culture%202.html (20 August 2015). [in Thai]
Husak, R.L., J.G. Sebranek and K. Bregendahl. 2008. A survey of commercially available broilers marketed as organic, free-range, and conventional broilers for cooked meat yields, meat composition, and relative value. Poult. Sci. 87(11): 2367-2376.
Leotaragul, A., S. Morathop, D. Na Rungsri and P. Rodtain. 2011. Production and breed warranty system of Pradu Hangdum Chiangmai 1 chicken for network farms. 66 p. In Research report. Bangkok: Thammasat University. [in Thai]
Nguyen, T.V. and C. Bunchasak. 2005. Effects of dietary protein and energy on growth performance and carcass characteristics of Betong chicken at early growth stage. Songklanakarin J. Sci. Technol. 27(6): 1171-1178.
Nguyen, T.V., C. Bunchasak and S. Chantsavang. 2010. Effect of dietary protein and energy on growth performance and carcass characteristics of Betong chickens (Gallus domesticus) during growing period. Int. J. Poult. Sci.9(5): 468-472.
Putsakul, A., C. Bunchasak, B. Chomtee, S. Kaoian and P. Sopannarath. 2010. Effect of Dietary Protein and Metabolizable Energy Levels on Growth and Carcass Yields in Betong Chicken (KU line). pp. 158-166. In Proceedings of the 48th Annual Conference: Animals 3-5 February 2010. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]
Rodtian, P., S. Chotinun, C. Sritong-in and S. Sriamporn. 2013. The promotion of indigenous chicken (Pradu-Hangdum Chiang Mai) raising to be the main carrier for farmer on sustainable network pattern in Doilorh district, Chiang Mai province. 46 p. In Research Report. Bangkok: Thammasat University. [in Thai]
Sawatdikwan, S. 2018. Cross bred chicken from Pradu-Hangdum Chiang Mai 1 good taste, raised simply, disease resistance, good price. [Online]. Available https://www.Technologychaoban.com/news-slide/article_81063 (14 November 2018). [in Thai]
Supphakitchanon, T. and W. Janwong. 2013. The promotion of indigenous chicken (Pradu-Hangdum Chiang Mai) in Tambon Mae Pang, Phrao district, Chiang Mai province. 53 p. In Research Report. Chiang Mai: Maejo University. [in Thai]
Wang, K.H., S.R. Shi, T.C. Dou and H.J. Sun. 2009. Effect of a free–range raising system on growth performance, carcass yield and meat quality of slow−growing chicken. Poult. Sci. 88(10): 2219-2223.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร