อิทธิพลของขนาดไข่ต่อคุณภาพไข่

ผู้แต่ง

  • กานดา ล้อแก้วมณี สาขาวิชาเกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร
  • อรรัฐฐา ไพขุนทด สาขาวิชาเกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร

คำสำคัญ:

ขนาดไข่, ส่วนประกอบของฟองไข่, คุณภาพไข่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของขนาดไข่ต่อคุณภาพไข่ โดยใช้ไข่ไก่จากไก่ไข่สายพันธุ์ซีพี บราวน์ อายุ 66 สัปดาห์ จำนวน 200 ฟอง ไข่ไก่ถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง คือ กลุ่มทดลองที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามขนาดเบอร์ไขไก่ ได้แก่ เบอร์ 1 (น้ำหนักไข่ 65-70 กรัม) เบอร์ 2 (น้ำหนักไข่ 60-64.99 กรัม) เบอร์ 3 (น้ำหนักไข่ 55–59.99 กรัม) และเบอร์ 4 (น้ำหนักไข่ 50-54.99 กรัม) เป็นระยะเวลา 0, 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 26.80°ซ. และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 72.60% พบว่าขนาดไข่ไม่มีผลต่อค่าฮอฟ์ยูนิต ค่าการสูญเสียน้ำหนัก ค่าความเป็นกรด-ด่างของไข่ขาว ค่าความสว่างของไข่แดง และสีไข่แดง ที่วัดโดยเครื่องวัดคุณภาพไข่อัตโนมัติ
(P>0.05) ในขณะที่ขนาดไข่มีผลต่อค่าความเป็นกรด-ด่างของไข่แดง ค่าความเป็นสีแดงของไข่แดง และค่าความเป็นสีเหลืองของไข่แดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จากการทดลองสรุปได้ว่าไข่ไก่เบอร์ 3 และ 4 มีค่าความเป็นสีแดงและค่าความเป็นสีเหลืองของไข่แดงสูงกว่าไข่ไก่เบอร์ 1 และ 2 ที่ระยะเวลาการเก็บ 4 สัปดาห์ ที่ยังคงไว้ซึ่งความต้องการของผู้บริโภคไข่ไก่ที่ชอบบริโภคไข่แดงมีสีแดงหรือสีเหลืองเข้ม

References

Jones, D.R. and M.T. Musgrove. 2005. Effects of extended storage on egg quality factors. Poultry Science 84(11): 1774-1777.

Khamphadit, P. 2011. Effect of Egg Yolk Types and Processing Methods on Quality of Salted Egg Yolk. Pathumthani: Faculty of Agricultural Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. 34 p. [in Thai]

Kingori, I.A.M. 2012. Egg quality defects: types cause and occurrence: a review. Journal of Animal Production Advances 2(8): 350-357.

National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. 2010. Thai AgriculturalStandard 6702-2553 HEN EGG. Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. 15 p.

Patom, L. 2006. Poultry Production. Bangkok: Faculty of Agricultural Technology, King Mongkut’s Institute of Technology. 317 p. [in Thai]

Roberson, K.D., J.L. Kalbfleish, W. Pen and R.A. Charbeneau. 2005. Effect of corn distiller’s dried grains with soluble at various levels on performance of laying hen and egg yolk color. International Journal of Poultry Science 4(2): 44-51.

Samli, H.E., A. Agna and N. Senkoylu. 2005. Effects of storage time and temperature on egg quality in old laying hens. The Journal of Applied Research 14(3): 548-553.

Santaweesuk, S., U. Kanto, S. Juttuponpong and P. Rahitsun. 2000. Subsititution

of Cassava Meal for Corn in Layer Diets. pp. 248-255. In Proceedings of the 38th Annual Conference: Animals and Veterinary Medicine 1-4 February 2000. Bangkok: Kasetsart University. [in Thai]

SAS. 2002. SAS User’s Guide. V.6.12. Cary, NC: SAS Institute Inc. 89 p.

Scott, T.A. and F.C. Silversides. 2000. The effect of storage and strain of hen on egg quality. Poultry Science 79(12): 1725-1729.

Seedaruk, K. 2017. Effects of Storage Time on Organic Egg Quality in Refrigerator Temperature. Special problem. Sakon Nakhon: Kasetsart University Chalermphrakiat. 81 p. [in Thai]

Stadelman, W.J. 1995. Quality Identification of Shell eggs. pp. 39-66. In Stadelman, W.J. and O.J. Cotterill. Egg Science and Technology. New York: The Haworth Press Inc.

Supchukun, K. 2014. The Story of Eggs. Bangkok: Department of Livestock Development. 149 p. [in Thai]

Tilki, M. and M. Saatci. 2004. Effect of storage time on external and internal characteristics in partridge (Alectoris graeca) eggs. Journal of Veterinary Medicine 155(11): 561-564.

USDA. 2000. Egg-Grading Manual. Agricultural handbook No. 75, Review July 2000. Washington, DC.: United states Department of Agriculture. 50 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-05-2019