การยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การยอมรับวิธีการปลูกพืช (GAP), โครงการหลวงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) การยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกร สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือเกษตรกรผู้ปลูกพืช (GAP) ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 161 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ร้อยละ 72.05 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 39.12 ปี มีสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย มีประสบการณ์ในการปลูกพืช GAP เฉลี่ย 7.70 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.30 คน มีแรงงานในครอบครัวเฉลี่ย 3.09 คน มีสภาพการถือครองที่ดินเฉลี่ย 7.70 ไร่ พืช (GAP) ที่ปลูกโดยเฉลี่ย 1.54 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นพืชผัก มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตพืชเฉลี่ย 76,857.03 บาท/ปี มีการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1.28 ครั้ง/ปี โดยส่วนใหญ่ติดต่อเรื่องการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว เข้ารับการฝึกอบรมเรื่องพืช (GAP) เฉลี่ย 0.67 ครั้ง/ปี ส่วนใหญ่เข้าอบรมที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรเฉลี่ย 0.81 กลุ่ม กลุ่มที่เข้าร่วมมากที่สุดคือ กลุ่มธนาคารเพื่อการเกษตร ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.90 มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกพืช (GAP) อยู่ในระดับสูง และมีทัศนคติอยู่ในระดับดีมาก ต่อวิธีการปลูกพืช (GAP) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.69. 2) เกษตรกรมีการยอมรับวิธีการปลูกพืช GAP อยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับวิธีการปลูกพืช GAP ได้แก่ ความรู้เกี่ยวการปลูกพืช (GAP) ส่งผลในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig<0.01) และทัศนคติที่ดีต่อการ ปลูกพืช GAP ส่งผลในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Sig<.05)
ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกพืช GAP ของเกษตรกร คือ ผลผลิตพืชตกค้าง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะไม่สามารถรับซื้อผลิตได้ทั้งหมดในบางฤดูกาล ดังนั้นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะและเกษตรกร ควรมี การวางแผนการผลิตพืช (GAP) ตลอดจนการชี้แจงปริมาณผลผลิตที่รับซื้อให้ชัดเจนเพื่อลดปัญหาผลผลิตตกค้าง และไม่เกิดปัญหาการจำหน่ายให้กับพ่อค้าภายนอก อีกทั้งเกษตรกรบางรายโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ อ่านหนังสือไม่ค่อยออก เขียนหนังสือไม่ได้ ทำให้มีปัญหาเรื่องการจดบันทึกข้อมูลและการตามสอบ ดังนั้น ควรมีโครงการจัดอบรมการจดบันทึกข้อมูลให้กับกลุ่มยุวเกษตร โดยอาจเป็นบุตรหลานที่ได้เรียนหนังสือมาเข้ารับการฝึกอบรม เพื่อให้นำความรู้ไปใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุได้ เกษตรกรบางรายยังพบปัญหาโรคและแมลงทำลายฟักทองญี่ปุ่น ทำให้ผลผลิตเสียหาย ดังนั้นศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะควรเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางมาอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดโรคและแมลงในฟักทองญี่ปุ่น และพืชชนิดอื่นๆ
References
Department of Agriculture. 2011. Sen Thang Pak Polamai Thai Pai Europe. [Online]. Available http://doa.go.th/psco/index.php?option=com (29 September 2016). [in Thai]
Janthong, N. and P. Sakkatat. 2015. Farmer’s adoption on quality management system of rice (GAP) in Wiset Chai Chan district, Angthong province. Agricultural Sci. J. 46(3)(Suppl.): 553-556.
Kaewduang, N., B. Youprasert and P. Tangwiwat. 2017. Organic safe vegetables production of good agricultural practice of farmers in Nong Khai province. Khon Kane Agr. J. 45(1)(Suppl.): 1590-1591.
Korpraditsakul, K., A. Chuanpit and R. Chainarong. 2006. Quality Control System Agricultural Product Thai GAP and EUREPGAP. 131 p. [in Thai]
Phuproom, W. and S. Dangcham. 2011. Factors Affecting Adoption on Good Agricultural Practice of Vegetable Growers in Photharam District, Ratchaburi Province. In Proceeding of The 1st International Conference on Agricultural Science and Technology, 21-22 July 2011.
Prommuangdee, A. 2010. Factors Affecting Good Agricultural Practice of Cabbage Growers in Bo-Sali Sub-district, Hot District, Chiang Mai. Master Thesis. Chiang Mai University. 131 p. [in Thai]
Royal Project Foundation. 2016. Montngo Royal Project. [Online]. Available www.royalprojectthailand.com (29 September 2016). [in Thai]
Suwannapin, C. 2007. Factors Affecting Certified Good Agricultural Pratice of Mango Growers, Phrao District, Chiang Mai Master Thesis. Chiang Mai University. 85 p. [in Thai]
Thongser, P. 2010. Farmers' Knowledge Needs of Good Agricultural Practice on Vegetable Production, Thung Ruang Royal Project Development Center, Chiang Mai Province. Master Thesis. Chiang Mai University. 117 p. [in Thai]
Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. New york: Harper and Row. 886 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร