ความคาดหวังของเกษตรกรต่อโครงการปลูกปาล์มน้ำมัน ของสหกรณ์ปาล์มน้ำมันล้านนา จำกัด จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กฤษฏิ์ ใจปัญญา ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • วรทัศน์ อินทรัคคัมพร ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • สุรพล เศรษฐบุตร ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ปาล์มน้ำมัน, สหกรณ์ปาล์มน้ำมันล้านนา จำกัด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของเกษตรกรต่อโครงการปลูกปาล์มน้ำมัน ของสหกรณ์ปาล์มน้ำมันล้านนา จำกัด จังหวัดเชียงราย และเพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการปลูกปาล์มน้ำมัน ในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ปาล์มน้ำมันล้านนาจังหวัดเชียงราย จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ
ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความคาดหวังด้านการผลิตในระดับความคาดหวังปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.26 ความคาดหวังด้านเศรษฐกิจในระดับ ความคาดหวังมาก ค่าเฉลี่ย 2.60 และความคาดหวัง ด้านสังคมในระดับความคาดหวังปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.67 จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ระดับการศึกษา และเพศ มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังต่อปัจจัยการผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต้นทุน ระดับการศึกษา สถานะของเกษตรกร และเพศ มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อายุ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังต่อปัจจัยด้านสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัญหาและข้อจำกัดของเกษตรกร คือ ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ดินเสื่อม น้ำไม่เพียงพอในฤดูแล้ง ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีความต้องการน้ำสูง กฎระเบียบการปฏิบัติที่แน่ชัดภายในกลุ่มสหกรณ์ฯ และการวางแผนในเรื่องราคาของผลผลิต เป็นปัญหาและข้อจำกัดส่วนใหญ่ที่พบในเกษตรกรอีกด้วย

References

Chantuk, T., Y. Klayyoo and W. Limarunothai. 2011. Efficiency of Production Factors and Cost of Pig: The Sufficiency Economy Philosophy in Nakhon Pathom Province.Nakhon Pathom: Rajamangala University of Technology Rattanakosin. 68 p.

Intragong, R. 2014. Farmers’ Knowledge, Understanding and Practice about Agricultural Disaster in Khuang Pao sub–district, Chom Thong District, Chiang Mai Province. Master Thesis. Chiang Mai University. 138 p.

Jaipunya, K. 2015. Crop research unit. 6 p. In Annual report. Chiang Mai: Chiang Mai University. [in Thai].

Phitthayaphinant, P., B. Somboonsuke, T. Eksomtramage and P. Satsue. 2013. Economic Efficiency Analysis of Oil Palm Production in Aoluek District, Krabi Province. Master Thesis. Prince of Songkla University. 324 p.

Phitthayaphinant, P., B. Somboonsuke, T. Eksomtramage and P. Satsue. 2015. Factors determining farmer’s decision on area expansion of oil palm plantation in Aoluek district, Krabi province. KKU Research Journal 13(4): 1-13. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis 3rd edition. New York: Harper and Row Publ. 1130 p

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-05-2019