ศักยภาพชุมชนและปัจจัยพยากรณ์การใช้ประโยชน์แม่น้ำของประชาชนลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • สามารถ ใจเตี้ย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • จันจิราภรณ์ จันทร์ต๊ะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่
  • รพีพร เทียมจันทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ศักยภาพชุมชน, การใช้ประโยชน์แม่น้ำ, ลุ่มน้ำลี้

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนและปัจจัยพยากรณ์ การใช้ประโยชน์แม่น้ำลี้ของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 323 ครัวเรือน และผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 18 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของผู้มีส่วนได้เสีย วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเส้นตรง และการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพชุมชนในการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำลี้ในปัจจุบันลดลงเมื่อเทียบกับอดีต เนื่องจากความเสื่อมสภาพของแม่น้ำ ถึงแม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรมและพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร แต่ประชาชนมีการใช้ประโยชน์
จากแม่น้ำลี้โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 1.73) ส่วนจำนวนสมาชิกในครัวเรือนและระยะจากสถานที่ตั้งที่พักอาศัยกับแม่น้ำลี้มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์แม่น้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ผู้มีส่วนได้เสียเสนอแนะให้สร้างเสริมศักยภาพชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูการจัดการทรัพยากรน้ำและป่าไม้ ด้วยรูปแบบนิเวศวิทยาวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง

References

Anderson, L.W. 1988. Education Research Methodology and Measurement. 964 p. In Keeves, J.D. (ed). An International Handbook. Victoria: Pergamon.

Aryupong, C. 2012. Water resources management plan by community involvement process in Chiang Mai. [Online]. Avalable http://cendru cmu.ac.th/articles/61 (5 July 2018). [in Thai]

Caruso, B. 2017. Women and girls are responsible for providing their households with water. [Online]. Available https://www.weforum.org/agenda/2017/08/women-and-girls-are-still-carrying-the-bulk-of-the-worlds-water (6 February 2018).

Homklin, K., S. Na Talang and W. Jintana. 2013. The community’s cultural adaptation after building Lam Dom Yai Dam. J. of Soc Sci & Hum. 39(2): 174-185. [in Thai]

Jaitae, S. 2017. Social dimension and Li river utility. Environment 21(4): 36-46. [in Thai]

Geist, J. 2011. Integrative freshwater ecology and biodiversity conservation. Ecological Indicators 11(6): 1507-1516.

Miles, M.B. and A.M. Huberman. 1994. Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook 2nded. California: SAGE Publications, Inc. 373 p.

Narata, P., R. Sirisunyaluck, W. Intaruccomporn and R. Apichatpongchai. 2015. Participation of Mae Taeng irrigation water user association members in irrigation management, Mae Taeng district, Chiang Mai. Journal of Agr. Research & Extension 32(2): 80-93. [in Thai]

Social Research Institute. 2017. Nature and environment plan project for people: case study Lamphun province. [Online]. Avalable http://www.sri.cmu.ac.th/~lamphun_envi/modules.php?name=Content (22 Fabruary 2018). [in Thai]

Song, W. and X. Deng. 2017. Land-use/land-cover change and ecosystem service provision in China. Sci. Total Environ. 576: 705-719.

Thewaphithak, B. and S. Leetagool. 2012. The pattern of knowledge management to manage water resources in the Ping River Basin, phase I. Journal of Agr. Research & Extension 29(1): 40-46. [in Thai]

Vickie, F. 2011. Floods, drought drive world food prices to record highs. [Online]. Available http://www.accuweather.com/en/weather-news/floods-drought-drive-world-foo-1/43993 (2 March 2018)

Wayne, W.D. and L.C. Chad. 2010. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (10thed.). New York: John Wiley & Sons. 954 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-05-2019