ผลของโซเดียมโดเดซิลซัลเฟตต่อการใช้สาบเสือบำบัดฟีแนนทรีนและไพรีน ที่ปนเปื้อนในดินร่วมกับแคดเมียม
คำสำคัญ:
การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้วยพืช, โซเดียมโดเดซิลซัลเฟต, พอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนบทคัดย่อ
การปนเปื้อนร่วมกันระหว่างพอลิไซคลิกอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons; PAHs) และแคดเมียมเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการใช้พืชเพื่อลดสารมลพิษทั้งสองชนิด การใช้สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์ร่วมกับการปลูกพืช เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดสารมลพิษทั้งสองชนิดได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้จึงศึกษาผลของสารลดแรง ตึงผิวโซเดียมโดเดซิลซัลเฟต (Sodium Dodecyl Sulfate; SDS) ต่อการกระตุ้นการบำบัดฟีแนนทรีน ไพรีน และแคดเมียมที่ปนเปื้อนร่วมกันในดิน การศึกษาทำโดยเติม SDS ลงในดินปนเปื้อนฟีแนนทรีน 204.5 มก./กก. ไพรีน 253.6 มก./กก. และแคดเมียม 81.0 มก./กก. ที่ปลูกและไม่ปลูกสาบเสือให้ได้ความเข้มข้นในดินเป็น 1 เท่า และ 2 เท่าของค่าความเข้มข้นวิกฤตที่จะเริ่มเกิดไมเซลล์ ในวันที่ 53 หลังปลูก และเก็บตัวอย่างพืชและดินใน วันที่ 60 หลังปลูก ผลการทดลองพบว่าการเติม SDS ไม่มีผลกระตุ้นการลดปริมาณฟีแนนทรีนและไพรีนในดิน ที่ปลูกพืช โดยปริมาณฟีแนนทรีนและไพรีนที่เหลือ อยู่ในดินที่ปลูกพืชมีค่าระหว่าง 4.8-7.4 มก./กก. และ 12.2-16.7 มก./กก. ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการเติม SDS ที่ระดับความเข้มข้น 1 เท่าของค่าความเข้มข้นวิกฤต ที่จะเริ่มเกิดไมเซลล์กลับส่งผลให้การลดปริมาณฟีแนนทรีน และไพรีนในดินที่ไม่ปลูกพืชเกิดขึ้นได้น้อยกว่าในสภาวะ ที่เติม SDS ที่ระดับความเข้มข้น 2 เท่าของค่าความเข้มข้นวิกฤตที่จะเริ่มเกิดไมเซลล์ หรือในดินที่ไม่เติม SDS นอกจากนี้การเติม SDS ยังมีแนวโน้มเพิ่มการสะสม ฟีแนนทรีนในส่วนยอดของสาบเสือได้ดีกว่าไพรีน แต่ กลับทำให้การสะสมแคดเมียมที่ยอดของสาบเสือลดลง
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร