ชีววิทยาการสืบพันธุ์และระดับฮอร์โมนเพศของแม่พันธุ์ปลาไหลนาที่พร้อม และไม่พร้อมผสมพันธุ์ในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์

ผู้แต่ง

  • ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ทัศนีย์ อนุกูลประเสริฐ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศตพร โนนคู่เขตโขง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธนสรณ์ รักดนตรี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รักพงษ์ เพชรคำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ชีววิทยาการสืบพันธุ์, แม่พันธุ์ปลาไหลนา, ฤดูกาลผสมพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบชีววิทยาการสืบพันธุ์และระดับฮอร์โมนเพศของ แม่พันธุ์ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่พร้อมและ ไม่พร้อมผสมพันธุ์ในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ ที่สุ่มรวบรวมจากตลาดบางลำภู จังหวัดขอนแก่น จำนวนกลุ่มละ 10 ตัวอย่าง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 มาชั่งน้ำหนักตัวและวัดขนาดความยาวลำตัว ศึกษาดัชนีความสมบูรณ์เพศ ความดกไข่ ขนาดเม็ดไข่ ระยะพัฒนาของไข่ (Oocyte) และปริมาณฮอร์โมนเพศ (Testosterone และ 17β-estradiol) ผลการศึกษาพบว่า แม่พันธุ์ปลาไหลนาที่พร้อมผสมพันธุ์มีค่าดัชนีความสมบูรณ์เพศ และขนาดเม็ดไข่มากกว่าแม่พันธุ์ปลาไหลนาที่ไม่พร้อมผสมพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) นอกจากนี้ พบแม่พันธุ์ปลาไหลนาที่พร้อมผสมพันธุ์ มีระยะพัฒนาของ Oocyte ส่วนใหญ่เจริญอยู่ในระยะ Late vitellogenic stage และบางส่วนอยู่ในระยะ Maturation stage ขณะที่ แม่พันธุ์ปลาไหลนาที่ไม่พร้อมผสมพันธุ์ มีระยะพัฒนา ของ Oocyte เจริญอยู่ในระยะ Cortical Alveoli, arly และ Mid vitellogenic stage

Author Biographies

ขจรเกียรติ์ ศรีนวลสม, คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

ทัศนีย์ อนุกูลประเสริฐ, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์

ศตพร โนนคู่เขตโขง, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ธนสรณ์ รักดนตรี, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รักพงษ์ เพชรคำ, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เผยแพร่แล้ว

11-05-2018