การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
การยอมรับ, เส้นไหมไทยสาวมือบทคัดย่อ
การศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากตัวอย่าง 254 ราย ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน พบว่าเกษตรกรมีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือในระดับสูงทุกประเด็น จำนวน 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านสถานที่สาวไหม จำนวน 5 ประเด็น 2) ด้านเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ จำนวน 5 ประเด็น 3) ด้านการต้มรังไหม จำนวน 2 ประเด็น 4) ด้านการตรวจคุณภาพเส้นไหม จำนวน 1 ประเด็น 5) ด้านการกรอเส้นไหมเพื่อทำเข็ดไหม จำนวน 5 ประเด็น และ 6) ด้านการเก็บรักษาเส้นไหม จำนวน 3 ประเด็น ส่วนเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมืออีก
4 ด้าน คือ 1) ด้านการตรวจคุณภาพรังไหม 2) ด้านวิธีการสาวไหม 3) ด้านบรรจุภัณฑ์ และ 4) ด้านเครื่องหมายและฉลาก มีการยอมรับในระดับต่ำถึงระดับไม่ปฏิบัติเกือบทุกประเด็นในแต่ละด้าน ผลการเปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือ พบว่าเกษตรกรที่มีอายุ จำนวนแรงงานในครัวเรือน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ และประสบการณ์การสาวไหมแตกต่างกัน มีการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเส้นไหมไทยสาวมือแตกต่างกันในบางประเด็น
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร