สมรรถนะการรวมตัวของผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตในงาลูกผสม

ผู้แต่ง

  • อิทธิพล ขึมภูเขียว คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปริญดา แข็งขัน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • เอกรินทร์ สารีพัว คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อรวรรณ รักสงฆ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การทำงานของยีนแบบบวก, การทำงานของยีนแบบไม่เป็นผลบวก, ความดีเด่นเหนือกว่าพ่อแม่, การผสมแบบพบกันหมด, การปรับปรุงพันธุ์งา

บทคัดย่อ

การศึกษาสมรรถนะการรวมตัวเป็นข้อมูลสำคัญต่อการพัฒนาพันธุ์ลูกผสม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการรวมตัวของผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตในงาลูกผสม ทำการประเมินสมรรถนะการรวมตัวโดยการผสมแบบพบกันหมดไม่สลับพ่อแม่ จากนั้นนำพันธุ์พ่อแม่และลูกผสมมาปลูกทดสอบในต้นฤดูฝน ปี พ.ศ. 2560 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า ลักษณะที่ศึกษามีสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P≤0.01) ยกเว้นลักษณะจำนวนฝักต่อต้น ส่วนสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกลักษณะที่ศึกษา โดยที่พันธุ์มหาสารคาม 60 และขาวอุบลราชธานี 2 มีสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปสูงและแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ ในลักษณะผลผลิตต่อไร่ (23.72 และ 17.61 ตามลำดับ) คู่ผสมระหว่าง CM-07 x มข.1, มหาสารคาม 60 x พื้นเมืองกาญจนบุรี และ พื้นเมืองกาญจนบุรี x MKS-I-84001 มีศักยภาพในการนำไปผลิตงาพันธุ์ลูกผสม เนื่องจากให้ผลผลิตสูง (234.27, 298.49 และ 290.96 กก./ไร่ ตามลำดับ) มีสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะสูงและแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ (57.08, 67.74 และ 88.61 ตามลำดับ) และมีค่าความดีเด่นเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของพ่อหรือแม่ที่ดีในลักษณะผลผลิตต่อไร่อยู่ในระดับสูง(87.15, 65.03 และ 105.79% ตามลำดับ) นอกจากนี้พบว่าอิทธิพลของยีนแบบไม่เป็นผลบวกมีความสำคัญ ในการควบคุมลักษณะผลผลิตของงา ดังนั้นการพัฒนาพันธุ์งาลูกผสมจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ให้สูงขึ้นได้

Author Biographies

อิทธิพล ขึมภูเขียว, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ปริญดา แข็งขัน, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

เอกรินทร์ สารีพัว, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

อรวรรณ รักสงฆ์, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

เผยแพร่แล้ว

17-05-2019