ความรู้ การปฏิบัติ และช่องทางการตลาดผักตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ระบบการเกษตรดีที่เหมาะสม, ความรู้, การปฏิบัติ, ช่องทางการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับความรู้ และระดับการปฏิบัติ ของเกษตรกรผู้ผลิตผักตามมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) ด้วยการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มเกษตรกรด้วยค่าสถิติ F-test และวัดระดับความพอใจการจำหน่ายผลผลิตผักแต่ละช่องทางการ ตลาด โดยอาศัยค่าคะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก สุ่มครัวเรือนเกษตรกรตัวอย่างโดยวิธีการแบบชั้นภูมิ และรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม จำนวน 166 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีระดับความถูกต้องของคะแนนความรู้การผลิตผักตามมาตรฐาน GAP ในระดับสูงร้อยละ 74.58 โดยมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง และการเก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะที่เหมาะสม ระหว่างกลุ่มเกษตรกรสมาชิกโครงการหลวงหรือบริษัทแปรรูปฯ กับเกษตรกร รายย่อย และเกษตรกรสมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักฯ กับเกษตรกรรายย่อย สำหรับการปฏิบัติตามมาตรฐาน GAP อยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขลักษณะแปลงผัก นอกจากนี้ผลผลิตผัก GAP มีความปลอดภัยและมีแหล่งรับซื้อแน่นอน ซึ่งแหล่งตลาดสามารถทวนสอบย้อนกลับสู่การผลิตในแปลง นำมาซึ่งความได้เปรียบการแข่งขันทางการค้า และเกษตรกรมีความพอใจต่อการจัดหน่ายผลผลิตแต่ละช่องทางการตลาด ในระดับมาก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร