สมบัติดินบางประการและการเข้าสู่รากของเชื้อราอาร์บัสคูราไมคอร์ไรซา ในแปลงกาแฟอราบิก้าภายใต้รูปแบบการปลูกที่แตกต่างกัน
คำสำคัญ:
กาแฟอราบิก้า, อินทรียวัตถุ, รูปแบบการปลูกเชื้อราอาร์บัสคูราไมคอร์ไรซาบทคัดย่อ
การศึกษาความสัมพันธ์ของคุณสมบัติดิน บางประการ และการดำรงอยู่ของเชื้อราอาร์บัสคูรา ไมคอร์ไรซา (AMF) ในแปลงกาแฟอราบิก้าภายใต้รูปแบบการปลูกที่ต่างกัน เพื่อหาแนวทางการปลูกกาแฟที่เหมาะสมต่อสภาพนิเวศที่สูงและลาดชัน ในพื้นที่บ้านใหม่พัฒนา ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ดำเนินการโดยสุ่มวางแปลงใน 5 พื้นที่ มีการปลูกกาแฟภายใต้รูปแบบ ที่แตกต่างกัน คือ การปลูกกาแฟร่วมกับไม้ผลเมืองหนาว การปลูกกาแฟผสมผสาน การปลูกกาแฟเชิงเดี่ยว การปลูกกาแฟใต้เรือนยอดป่าธรรมชาติ และการปลูกกาแฟ ในพื้นที่ป่าฟื้นฟู เก็บตัวอย่างดินแปลงละ 3 จุด เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์บางประการ เก็บรากและดินใกล้รากเพื่อวิเคราะห์อัตราการสร้างอาณานิคมและนับจำนวนสปอร์ในดินบริเวณราก วัดอัตราการซึมน้ำผ่าน ผิวดินในแปลง สุ่มเก็บผลกาแฟแปลงละ 600 ผล ชั่งน้ำหนักสดและแห้ง ผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติของดินจะมีความอุดมสมบูรณ์สูง (อินทรียวัตถุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส อัตราการซึมน้ำผ่านผิวดิน และจำนวนสปอร์ของเชื้อรา AMF) ในสภาพการปลูกกาแฟใต้เรือนยอด ป่าธรรมชาติ และการปลูกกาแฟผสมผสาน ส่งผลให้ต้นกาแฟผลิตเมล็ดผลสดและผลแห้งได้น้ำหนักต่อ 150 เมล็ด มากกว่าการปลูกกาแฟร่วมกับไม้ผลเมืองหนาวหรือการปลูกกาแฟในพื้นที่ป่า ในขณะที่การปลูกกาแฟเชิงเดี่ยวไม่ทำให้ต้นกาแฟผลิตเมล็ดได้ดีเท่าการปลูกภายใต้ไม้ยืนต้น จึงสรุปได้ว่าการปลูกกาแฟภายใต้ป่าธรรมชาติ หรือการปลูกไม้ผสมผสาน (วนเกษตร) ให้ผลดีและเหมาะสมต่อเกษตรกรบนพื้นที่สูงมากกว่าการปลูกกาแฟเชิงเดี่ยว
References
กีรติ ลีวัจนกุล. 2543. อุทกวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต. 552 น.
ณฐิตากานต์ ปินทุกาศ และพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. 2560. รูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง. ว. แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ 1: 521-526.
ดิฐพล ทองแสน. 2556. เปรียบเทียบศักยภาพดินจากการผลิตกาแฟเชิงเดี่ยวกับการปลูกในรูปวนเกษตรที่มีผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน: กรณีศึกษาบ้านแม่มอญ ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. น. 61-66. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการ “สิ่งแวดล้อมนเรศวร” ครั้งที่ 9 The 9th Naresuan Environmental Annual Conference. 1 สิงหาคม 2556. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นงลักษณ์ ปูระณะพงษ์. 2548. คู่มือการวิเคราะห์ดินและพืช. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 286 น.
สมชาย องค์ประเสริฐ. 2534. ปฐพีศาสตร์ประยุกต์. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 444 น.
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1. 2560. คุณสมบัติดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://oard1.doa.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=48&Itemid=12#l2 (17 สิงหาคม 2560).
อักษร เสกธีระ และพัฒนพันธุ์ ไพชยนต์. 2537. คู่มือการปลูกและการผลิตกาแฟอราบิก้าบนที่สูง: ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกาแฟ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 109 น.
Andrade, S.A.L., P. Mazzafera, M.A. Schiavinato and A.P.D. Silveira. 2009. Arbuscular mycorrhizal association in coffee: A review. Agricultural Science 147: 105-115.
Daniels, B.A. and H.D. Skipper. 1982. Method for the recovery and quantitative estimation of propagules from soil. pp. 29-35. In Schenek, N.C. (ed.). Methods and Principles of Mycorrhizal Research. Minnesota: American Phytopathological Society.
De Almeida, V.C., M.I. Nogueira, R.J. Guimarães and M. Mourão. 2003. Carbono da biomassa microbiana e micorriza en solo sub mata nativa e agroecossistemas cafeeiros. Acta Sci. Agronomy 25: 147-153.
Fugi, S. 2014. Soil acidification and adaptations of plants and microorganisms in Bornean tropical forests. Ecological Research 29: 371-381.
Gerdemann, J.W. and T.H. Nicolson. 1963. Spores of mycorrhizal endogone species extracted from soil by wet-sieving and decanting. Transactions of the British Mycological Society 46(2): 235-244.
McCauley, A., C. Jones and K. Olson-Rutz. 2017. Soil pH and Organic Matter in Nutrient Management Module No. 8. Montana: Montana State University. 16 p.
Notaro, K.A., E.V. Medeiros, G.P. Duda, A.O. Silva and P.M. Moura. 2014. Agroforestry systems, nutrient in litter and microbial activity in soils cultivated with coffee at high altitude. Scientia Agricola 71(2): 87-95.
Osorio, N.W., M. Alzate and G.A. Ramírez. 2002. Coffee seedling growth as affected by mycorrhizal inoculation and organic amendment. Communications in Soil Science and Plant Analysis 33: 1425-1434.
Posada, R.H. and E. Sieverding. 2014. Arbuscular mycorrhiza in Colombian coffee plantations fertilized with coffee pulps as organic manure. Journal of Applied Botany and Food Quality 87: 243-248.
Sewnet, T.C. and F.A. Tuju. 2013. Arbuscular mycorrhizal fungi associated with shade trees and Coffea arabica L. in a coffee-based agroforestry system in Bonga, Southwestern Ethiopia. Afrika Focus 26(2): 111-131.
Swift, C.E. 2004. Mycorrhiza and Soil Phosphorus Levels. Colorado: Colorado State University. 4 p.
USDA Natural Resources Conservation Service. 2008. Soil quality indicator. Brochures. [Online]. Available http://www.nrcs.usdagov/Internet/FSE_DOCUMENTS/nrcs142p2_053289.pdf (24 June 2017).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร