การประยุกต์ใช้หลอดไดโอด (LED) ต่อการผลิตหัวเชื้อแพลงก์ตอนพืช ชนิด Isochrysis galbana (Clone T. Iso) และ Tetraselmis suecica ภายในห้องปฏิบัติการ

ผู้แต่ง

  • วาสนา อากรรัตน์ สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจวบคีรีขันธ์
  • ศรัณย์ เศวตมาลานนท์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นครสวรรค์
  • บุณยกร พ่วงดี คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นครสวรรค์
  • ทวีศักดิ์ บัวบาน คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นครสวรรค์
  • วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม สถานีวิจัยประมงคลองวาฬ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

การผลิตแพลงก์ตอนพืช, หลอดไดโอด (LED), Isochrysis, Tetraselmis

บทคัดย่อ

ศึกษาการใช้หลอดไฟ LED ต่อการผลิตหัวเชื้อแพลงก์ตอนพืชชนิด Isochrysis galbana (Clone T. Iso) และ Tetraselmis suecica ภายในห้องปฏิบัติการ (อุณหภูมิห้องเพาะเลี้ยง 25ºซ. ความเข้มแสงที่ 3,000 lux) โดยตรวจนับเซลล์แพลงก์ตอนพืชทุกๆ 12 ชั่วโมง ระยะเวลา 10 วัน ผลการศึกษาพบว่า ระยะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของ Isochrysis ที่ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Control) หลอด LED แสงสีขาว (T1) และหลอด LED แสงสีขาวนวล (T2) อยู่ในช่วงชั่วโมงที่ 36-96 ของการเพาะเลี้ยง โดยอัตราการเจริญเติบโตของ Isochrysis ที่ T2 (0.38±0.04 ต่อวัน) จะต่ำกว่าที่ T1 (0.49±0.03 ต่อวัน) และชุด Control (0.46±0.01 ต่อวัน) (P<0.05) ส่วนระยะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของ Tetraselmis ในแต่ละชุดการทดลองอยู่ในช่วงชั่วโมงที่ 72-108 ของการเพาะเลี้ยง โดยอัตราการเจริญเติบโตของ Tetraselmis ที่ T1 (0.49± 0.13 ต่อวัน) และ T2 (0.46±0.10 ต่อวัน) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุด Control (0.50±0.01 ต่อวัน) (P>0.05) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สามารถนำหลอด LED มาประยุกต์ใช้ในการผลิตหัวเชื้อแพลงก์ตอนพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ภายในห้องปฏิบัติการได้

 

References

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. 2558. LED ทางเลือกใหม่ของหลอดไฟประหยัดพลังงาน. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.pea.co.th/ (27 สิงหาคม 2558).

ลัดดา วงศ์รัตน์. 2543. คู่มือการเลี้ยงแพลงก์ตอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 127 น.

วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม วาสนา อาการรัตน์ และกนกพร เกษสุวรรณ์. 2553. การผลิตไดอะตอม Thalassiosira spp. ภายในห้องปฏิบัติการ และแบบปริมาณมากที่ระดับความเค็มต่างกันเพื่อใช้ในการอนุบาลลูกสัตว์ทะเลวัยอ่อน. วารสารการประมง 63(5): 422-427.

วาสนา อากรรัตน์ ประภาพร ดีมาก ณัชชา เฮงเจริญ กมลทิพย์ ประดับธรรม และวุฒิชัย อ่อนเอี่ยม. 2557. การวิเคราะห์ต้นทุน และผลตอบแทนของการผลิตคีโตเซอรอสแบบหัวเชื้อ และแบบปริมาณมาก. น. 149-156. ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 52 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่มที่ 3 สาขาประมง สาขาส่งเสริมการเกษตร และคหกรรมศาสตร์ 4-7 กุมภาพันธ์ 2557. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วาสนา อากรรัตน์ และวุฒิชัย อ่อนเอี่ยม. 2555ก. ผลของไดอะตอม Thalassiosira spp. ต่ออัตรารอดตาย และพัฒนาการของลูกปูม้า (Portunus pelagicus) วัยอ่อนระยะซูเอี้ย 1 ถึง 4. วารสารแก่นเกษตร 40(1): 61-68.

วาสนา อากรรัตน์ และวุฒิชัย อ่อนเอี่ยม. 2555ข. ผลของแสงสีต่อการผลิตแพลงก์ตอนพืช (Isochrysis sp., Thalassiosira spp., Chlorella sp. และ Tetraselmis spp.) ในห้องปฏิบัติการ. น. 574-581. ใน เรื่องเต็ม

การประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 50 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่มที่ 1 สาขาสัตว์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์ สาขาประมง 31 มกราคม-2 กุมภาพันธ์ 2555. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วาสนา อากรรัตน์ และวุฒิชัย อ่อนเอี่ยม. 2556. แนวทางการลดต้นทุนการผลิตหัวเชื้อแพลงก์ตอนพืชเชิงพาณิชย์ในห้องปฏิบัติการ. น. 305-315. ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 51 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่มที่ 2 สาขาสัตวแพทยศาสตร์ สาขาประมง 5-7 กุมภาพันธ์ 2556. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สาโรจน์ เริ่มดำริห์ และประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ. 2552. การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับชนิดและความหนาแน่นเซลล์ของแพลงก์ตอนพืชสำหรับอนุบาลลูกหอยเชลล์ (Mimachlamys senatoria) ระยะวัยเกล็ด. น. 388-395. ใน เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 47 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่มที่ 4 สาขาประมง 17-20 มีนาคม 2552. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Arkronrat, W. and V. Oniam. 2012. Growth performance and production cost of commercial microalgae cultured under laboratory conditions with different aeration setting. Kasetsart University Fisheries Research Bulletin 36(1): 31-38.

Borowitzka, M.A. 1999. Commercial production of microalgae: ponds, tanks, tubes and fermenters. Journal of Biotechnology 70: 313-321.

Brown, M.R., S.W. Jeffrew, J.K. Volkman, G.A. Dunstan, R.P. Wilson and K.L. Wee. 1997. Nutritional Properties of Microalgae for Marine Culture. Hobart: Division of Marine Research. 482 p.

Coutteau, P. and P. Sorgeloos. 1992. The use of algal substitutes and the requirement for live algae in the hatchery and nursery rearing of bivalve mollusks: an international survey. Journal of Shellfish Research 11(2): 356-476.

Dubinsky, Z., R. Matzuet and I. Karube. 1995. Photobiological aspects of algal mass culture. Journal of Marine Biotechnology 2: 61-65.

Hahne, T., B. Schwarze, M. Kramer and B. Frahm. 2014. Disposable algae cultivation for high-value products using all around LED-illumination directly on the bags. Journal of Algal Biomass Utilization 5(2): 66-73.

Koc, C., G.A. Anderson and A. Kommareddy. 2013. Use of red and blue Light-Emitting Diodes (LED) and fluorescent lamps to grow microalgae in a photobioreactor. Israeli Journal of Aquaculture-Bamidgeh 797: 1-8.

Phatarpekar, P.V., R.A. Sreepada, C. Pednekar and C.T. Achuthankutty. 2000. A comparative study on growth performance and biochemical composition of mixed culture of Isochrysis galbana and Chaetoceros calcitrans with monocultures. Aquaculture 181: 141-155.

Spolaore, P., C. Joannis-Cassan, E. Duran and A. Isambert. 2006. Commercial application of microalgae. Journal Bioscience and Bioengineering 101(2): 87-96.

Tatrah, F.M.I., F.M. Yusoff, M. Shariff, F. Abas and N.S. Marian. 2007. Screening of Malaysian indigenous microalgae for antioxidant properties and nutritional value. Journal of Applied Phycology 19: 711-718.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-07-2019