สภาพการเลี้ยงและการเปรียบเทียบระยะเวลาในการสอด CDIR เพื่อเหนี่ยวนำการเป็นสัดในโคนมของจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • พยุงศักดิ์ อินต๊ะวิชา สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา
  • วีรพันธุ์ ปัญญา สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา
  • ศักดิ์ชัย เครือสาร สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา
  • ธรรมนูญ ธานี สาขาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา พะเยา
  • มนตรี ปัญญาทอง ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

สภาพการเลี้ยง, การเหนี่ยวนำ, โปรเจสเตอโรน, เอสโตรเจน, การเป็นสัด, การผสมติด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อทราบถึงสภาพการเลี้ยงโคนมในจังหวัดพะเยา และการเปรียบเทียบจำนวนวันสอดอุปกรณ์เหนี่ยวนำการเป็นสัดในแม่โคนม การศึกษาที่ 1 สภาพการเลี้ยงโคนมในจังหวัดพะเยา โดยข้อมูลถูกเก็บจากผู้เลี้ยงโคนมทั้งหมดในจังหวัดพะเยาจำนวน 12 ราย โดยใช้แบบสอบถามทั้งปลายเปิดและปิด จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่เลี้ยงโคนมในจังหวัดพะเยาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 83.33)    มีอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วง 40-60 ปี (ร้อยละ 66.67) มีระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 33.33) และระดับปริญญาตรี (ร้อย 33.33) เลี้ยงโคนมเป็นอาชีพหลักคิดเป็นร้อยละ 91.67 มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนม 3-4 ปี (ร้อยละ 33.33) เกษตรกรร้อยละ 91 มีแปลงหญ้าสำหรับเลี้ยงโคนมและซื้ออาหารข้นจากสหกรณ์มาเลี้ยงโคนม (ร้อยละ 100) มีการจดบันทึกทะเบียนประวัติประจำตัวโคนมที่เลี้ยง (ร้อยละ100) ส่วนปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่พบ แม่โคไม่แสดงอาการเป็นสัดภายใน 60 วันหลังคลอดลูก (ร้อยละ 46.47) การศึกษาที่ 2 เปรียบเทียบวันสอดอุปกรณ์เหนี่ยวการเป็นสัด 3 รูปแบบ (7, 9 และ 11 วัน)  ในแม่โคไม่แสดงอาการเป็นสัดภายใน 60 วันหลังคลอดลูก จำนวน 22 ตัว โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มสอด CIDR 7 วัน (n=7)  2) กลุ่มสอด CIDR 9 วัน (n=7)  3) กลุ่มสอด CIDR 11 วัน (n=8) พบว่าระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกระแสเลือด ในวันสอดอุปกรณ์ CIDR แม่โคกลุ่ม 7, 9 และ 11 วัน เท่ากับ 23.04±1.70, 21.89±5.24 และ 22.38±8.82 ng/ml ตามลำดับ (P>0.05) ในวันถอดอุปกรณ์ CIDR แม่โคกลุ่ม 7, 9 และ 11 วัน มีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกระแสเลือดเท่ากับ 17.21±6.74, 25.65±13.82 และ 23.1±6.52 ng/ml ตามลำดับ (P>0.05) วันผสมเทียมแม่โคกลุ่มสอด CIDR 7, 9 และ 11 วัน มีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในกระแสเลือดเท่ากับ 11.16±1.66, 9.83±2.11 และ 8.00±4.79 ng/ml ตามลำดับ (P>0.05) ส่วนค่าความเข้มข้นของฮอร์โมนเอสตราไดออลในวันสอดอุปกรณ์ CIDR แม่โคกลุ่ม 7, 9 และ 11 วัน มีระดับฮอร์โมน เอสตราไดออลในกระแสเลือดเท่ากับ 4.26±2.01, 4.35±0.67 และ 4.75±0.68 ng/ml ตามลำดับ (P>0.05) ในวันที่ถอดอุปกรณ์ CIDR แม่โคกลุ่ม 7, 9 และ 11 วัน มีค่าเท่ากับ 5.09±2.12, 4.72±0.78 และ 4.66±1.61 ng/ml ตามลำดับ (P>0.05) และในวันผสมเทียมแม่โคกลุ่ม 7, 9 และ 11 วัน  มีระดับฮอร์โมนเอสตราไดออลในกระแสเลือดเท่ากับ 4.23±1.37, 4.90±0.92 และ 5.65±3.16 ng/ml ตามลำดับ (P>0.05) อัตราการเป็นสัดและอัตราการผสมติดของ  แม่โคหลังจากผสมเทียมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ทุกกลุ่มการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)   

 

References

กรมปศุสัตว์. 2557. รายงานประชากรโคนม ปริมาณน้ำนมดิบและผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำนมดิบ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนประจำเดือนสิงหาคม 2557. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dpo.go.th/wp-content/uploads/2013/12/datastaticdairynorthcm.pdf (3 มีนาคม 2562).

ณัฐวิทย์ อิ่มมาก และอรพิณ สันติธีรากุล. 2558. ความคิดเห็นของผู้ประกอบการโคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนต่อการเข้าสู่มาตรฐานฟาร์ม. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1(3): 235-249.

วาสนา ไชยศรี. 2556. ระบบนำส่งยาในทางสัตวแพทย์ (Veterinary drug delivery system). วารสารเชียงใหม่สัตวแพทยสาร 11(1): 57-74.

วาสนา ศิริแสน มนกานต์ อินทรกาแหง และสุภาวดี ปิระเต. 2557. การสำรวจระบบการเลี้ยงโคนมและคุณภาพน้ำนมดิบของเกษตรกรรายย่อย. น. 321-332. ใน รายงานการประชุมวิชาการมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 10. ภาควิชาสัตวแพทย์สาธารณสุขศาสตร์. 11 กันยายน 2557. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สํานักงานปศุสัตว์เขต 5. ส่วนยุทธศาสตร์และสารสนเทศการปศุสัตว์. 2561. ยุทธศาสตร์โคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยสำนักงานปศุสัตว์ เขต 5. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://region5.dld.go.th/images/stories/e01/ko-nom_each2/320525611.pdf (26 มิถุนายน 2561).

Bicalho, R.C., S.H. Cheong, L.D. Warnick and C.L. Guard. 2007. Evaluation of progesterone supplementation in a prostaglandin F2α-based presynchronization protocol before timed insemination. Journal of Dairy Science 90(3): 1193-1200.

Bridges, G.A., M.L. Mussard, L.A. Helser and M.L. Day. 2014. Comparison of follicular dynamics and hormone concentrations between the 7-day and 5-day CO-Synch + CIDR program in primiparous beef cows. Theriogenology 81(4):632-638.

Dewey, S.T., L.G.D. Mendonca, G. Lopes Jr., F.A. Rivera, F. Guagnini, R.C. Chebel and T.R. Bilby. 2010. Resynchronization strategies to improve fertility in lactating dairy cows utilizing a presynchronization injection of GnRH or supplemental progesterone: I. Pregnancy rates and ovarian responses. Journal of Dairy Science 93(9): 4086-4095.

Kasimanickam, R.K., P. Firth, G.M. Schuenemann, B.K. Whitlock, J.M. Gay, D.A. Moore, J.B. Hall and W.D. Whittier. 2014. Effect of the first GnRH and two doses of PGF2α in a 5-day progesterone-based CO-Synch protocol on heifer pregnancy. Theriogenology 81(6): 797-804.

Kasimanickam, R., S. Schroeder, J.B. Hall, and W.D. Whittier. 2015. Fertility after implementation of long- and short-term progesterone-based ovulation synchronization protocols for fixed-time artificial insemination in beef heifers. Theriogenology 83 (7): 1226-1232.

McDougall, S. 2010. Effects of treatment of anestrous dairy cows with gonadotropin-releasing hormone, prostaglandin, and progesterone. Journal of Dairy Science 93(5): 1944-1959.

Palomares, R.A., H.J. Fishman, A.L. Jones, M.S. Ferrer, M. Jenerette and A. Vaughn. Theriogenology. 2015. Comparison of 4- versus 5-day CoSynch + controlled internal drug release (CIDR) + timed artificial insemination protocols in dairy heifers. Theriogenology 84(6): 868-874.

Vasconcelos, J.L., R.W. Silcox , G.J. Rosa J.R. Pursley and M.C. Wiltbank. 1999. Synchronization rate, size of the ovulatory follicle, and pregnancy rate after synchronization of ovulation beginning on different days of the estrous cycle in lactating dairy cows. Theriogenology 52(6): 1067-1078.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-07-2019