แนวทางพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในชุมชนเกษตรอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เกศสุดา สิทธิสันติกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • ขนิษฐา เสถียรพีระกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • บัญจรัตน์ โจลานันท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความมั่นคงทางอาหาร, เกษตรอินทรีย์, ชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรอินทรีย์ วิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารที่สัมพันธ์กับวิถีของการทำเกษตรอินทรีย์ และค้นหาแนวทางการพัฒนาความมั่นคงทางอาหารของชุมชนเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ   มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม รวมทั้งการจัดประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน ในชุมชนเกษตรอินทรีย์ บ้านสันทรายและบ้านเมืองวะ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า  1) ความมั่นคงทางอาหารในมุมมองของเกษตรอินทรีย์ คือ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งอาหาร การเสริมสร้างเศรษฐกิจครัวเรือน การมีวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนพึ่งพา และการมีสุขภาพที่ดี  2) วิถีของการทำเกษตรอินทรีย์ด้านการผลิต การแสวงหารายได้ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารในแง่การเข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างพอเพียง ความพอเพียงด้านเศรษฐกิจ และความยั่งยืนของการผลิตอาหาร และ  3) แนวทางพัฒนาความมั่นคงทางอาหาร แบ่งออกเป็นแนวทางการพัฒนาระดับชุมชน ได้แก่ การพัฒนาและสืบทอดความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ การขยายผลการทำเกษตรอินทรีย์ การสร้างเครือข่าย การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว การสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลดินน้ำป่า และการเพิ่มประสิทธิภาพการสนับสนุนของหน่วยงาน ส่วนแนวทางสนับสนุนเชิงนโยบาย ได้แก่ การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ การส่งเสริมพันธุกรรมพืชท้องถิ่นในการเพาะปลูก การส่งเสริมการเกษตรแบบพึ่งตนเอง และการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่

References

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2537. วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 322 น.

ทิพวัลย์ สีจันทร์. 2546. พลวัตการเกษตรและเศรษฐกิจชุมชนภาคกลาง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์. 154 น.

ปิยาพร อรุณพงษ์. 2556. นัยยะความมั่นคงทางอาหารในกระแสความเปราะบางของสังคมผู้ผลิต. น. 1-12. ใน เอกสารประกอบเวทีสัมมนาวิชาการเรื่อง “คุณค่า ความหมาย ของชาวนาและชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์” 15 สิงหาคม 2556. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพชรบุญ ฟักเกตุ ชมพูนุท โมราชาติ และอุทัย อันพิมพ์. 2559. สภาพการสร้างความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรอินทรีย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ 11(1): 63-71.

มูลนิธิชีววิถี. 2553. คู่มือประชาชน เรื่อง ความ (ไม่) มั่นคงทางอาหารกับทางออกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการปฏิรูประบบเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร ชุมชน และสังคม. 59 น.

ยศ สันตสมบัติ. 2548. มนุษย์กับวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 292 น.

สุภา ใยเมือง และเกียรติศักดิ์ ยั่งยืน. 2554. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ ตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย). นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. 108 น.

FAO, IFAD and WFP. 2013. The State of Food Insecurity in the World 2013. Rome, FAO: The Multiple Dimensions of Food Security. 54 p.

Godfray, H.C.J., J.R. Beddington, I.R. Crute, L. Haddad, D. Lawrence, J.F.Muir, J. Pretty, H. Robinson, S.M. Thomas and C. Toulmin 2010. Food security: the challenge of feeding 9 billion people. Science 327(5967): 812-818.

Nelson, E., S. Scott, J. Cukier and Á.L.Galán. 2009. Institutionalizing agroecology: successes and challenges in Cuba. Agriculture and Human Values 26(3): 233-243.

Rundgren, G. 2006. Organic Agriculture and Food Security. Germany: IFOAM. 40 p.

Sajin, P. 2009. Report submitted to UNDP Thailand. [Online]. Avaiable http://sathai.org/story_thai/043-FOOD_SECURITY.pdf (5 August 2016).

Warwick, H. 2001. Cuba's organic revolution. Forum for Applied Research and Public Policy 16(2): 54-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-07-2019