การยอมรับการส่งเสริมปลูกพืชผักในระบบการเพาะปลูกที่ดี ของเกษตรกรชนเผ่ากะเหรี่ยงในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การยอมรับเทคโนโลยี, ชนเผ่ากะเหรี่ยง, ระบบการเพาะปลูกที่ดี, ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการยอมรับการส่งเสริมปลูกพืชผักในระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการส่งเสริมปลูกพืชผักในระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร และ 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่อการส่งเสริมปลูกพืชผักในระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ เกษตรกร ชนเผ่ากะเหรี่ยงในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 144 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรชนเผ่ากะเหรี่ยงมีการยอมรับการส่งเสริมปลูกพืชผักในระบบการเพาะปลูกที่ดีอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการส่งเสริมปลูกพืชผักในระบบการเพาะปลูกที่ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ การเข้าร่วมฝึกอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรที่ดี และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สำหรับปัญหาเกี่ยวกับการยอมรับการส่งเสริมปลูกพืชผักในระบบการเพาะปลูกที่ดีของเกษตรกร คือ เอกสารหรือคู่มือเกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรที่ดีมีคำศัพท์และการใช้ภาษาที่เข้าใจยาก โดยเฉพาะในส่วนขั้นตอนการบันทึกข้อมูลและการ ตามสอบ เกษตรกรบางส่วนยังเกิดความสับสนและมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่ควบคุม ดังนั้นเกษตรกรจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาการจัดทำคู่มือหรือสื่อที่ใช้ส่งเสริมการปลูกพืชผักในระบบการเพาะปลูกที่ดีที่ใช้ภาษาที่เหมาะสมและเข้าใจได้ง่าย ซึ่งมีการเน้นการนำเสนอข้อมูลโดยการใช้รูปภาพมาประกอบและมีการแสดงตัวอย่างการปฏิบัติที่ถูกต้องตามมาตรฐานในทุกขั้นตอน อีกทั้งควรมีโครงการอบรมที่มุ่งให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติในส่วนของการบันทึกข้อมูลและการสอบทวนย้อนกลับให้เป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาส่งเสริม
References
Footan, C., S. Sreshthaputra, W. Intrauccomporn and T. Pankasemsuk. 2017. Factors affecting farmers’ adoption in good agricultural practices for safe vegetable production in Mae Tha Nuea Royal Project Development Center, Chiang Mai province. Journal of Agriculture 33(3): 397-404. [in Thai]
Highland Research and Development Institute (Public Organization). 2016. Good agricultural Practice. [Online]. Available https://hkm.hrdi.or.th/media/detail/205/5 (19 May 2019). [in Thai]
Janthong, N. and P. Sakkatat. 2016. Good agricultural practices adoption of mango’s farmer at Samko district, Angthong province. Journal of Agriculture 32(1): 19-27. [in Thai]
Mingsakul, S. 2016. Knowledge and practice in accordance with Good Agricultiral Practice (GAP) of farmers producing vegetables in Maerim district, Chiangmai province. Academic Journal Uttaradit Rajabhat University 11(2): 323-334. [in Thai]
Phengsawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Research. Bangkok: Suwiriyasan. 410 p. [in Thai]
Prasitratsin, S. 2003. Social Research Methodology. Bangkok: National Institute of Development Administration. 489 p. [in Thai]
Royal Project Foundation. 2017. Royal Project Foundation Development Report in the Fiscal Year 2016. Chiang Mai: Department of Development, Royal Project Foundation. 489 p. [in Thai]
Saipatthana, U. and C. Piyapimonsit. 2004. Collinearity. Parichart Journal 17(1): 55-62. [in Thai]
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร