การเปลี่ยนแปลงสวัสดิการสังคมจากการดำเนินนโยบายราคายางพาราในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สร้อยฟ้า เสริฐแก้ว คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • มนตรี โสคติยานุรักษ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ยางพารา, นโยบายราคา, ราคายางพารา, สวัสดิการสังคม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของนโยบายราคาต่อระบบเศรษฐกิจไทย โดยทำการศึกษานโยบายรักษาเสถียรภาพราคายางพารา 5 นโยบาย ในช่วงปี พ.ศ. 2530–2559 ซึ่งการวัดสวัสดิการสังคมพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงส่วนเกินผู้ผลิตและส่วนเกินผู้บริโภค เปรียบเทียบกับงบประมาณและรายได้ของการดำเนินนโยบาย ในการวัดส่วนเกินผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ทำการสร้างแบบจำลองอุปสงค์และอุปทานยางพาราไทย โดยข้อมูลทุติยภูมิระหว่างปี พ.ศ. 2530–2559 พบว่าปัจจัยด้านนโยบายไม่มีผลต่ออุปสงค์และอุปทานยางพาราของไทย จึงอาจกล่าวได้ว่านโยบายการแทรกแซงราคาไม่มีผลต่อตลาดยางพาราของไทย        เมื่อพิจารณาส่วนเกินผู้บริโภคที่ลดลงจากการซื้อยาง       ในราคาที่แพงกว่าราคาตลาด เป็นเงิน 231,155.29 ล้านบาท ในขณะที่ส่วนเกินผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการขายยางพารา      ในราคาสูงกว่าราคาตลาด คือ 228,202.44  ล้านบาท และงบประมาณในการดำเนินนโยบายและผลการดำเนินงานที่สูญเสีย เป็นเงิน 21,020.61 ล้านบาท        ดังนั้นสวัสดิการสังคมที่สูญเสียจากการดำเนินนโยบาย         ในแต่ละช่วง รวมเป็นระยะเวลา 14 ปี คือ 23,973.47 ล้านบาท หรือ 1,712.39 ล้านบาทต่อปี จากผลการศึกษามีข้อเสนอทางเลือกนโยบายรักษาเสถียรภาพราคาใน 3 ประเด็น    คือ 1) นโยบายด้านการผลิต ควรลดอุปทานส่วนเกินด้วยการลดพื้นที่เพาะปลูก และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยางพารา 2) การสนับสนุนความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนสำคัญของการดำเนินนโยบายและการแก้ไขปัญหาของตัวเกษตรกรเอง และ 3) การเปลี่ยนบทบาทของภาครัฐจากผู้ดำเนินงานเป็นผู้กำกับแทนโดยเฉพาะนโยบายในเชิงพาณิชย์ควรใช้ศักยภาพของหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการแทน

References

Food and Agriculture Organization of the United Nations. 2010. Crop: Rubber. [Online] Availiable https://www.fao.org/faostat/en/#data/QC (1 March 2017).

Office of Agricultural Economics. 2015. Agricultural Statistic of Thailand. [Online] Available https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/ebook/yearbook58.pdf (1 March 2017).

Pochanukul Suzuki, P. and P. Sapsisanjai. 2014. Study on a Market Intervention Policy on Rubber to Prevent Corruption. Bangkok: Office of The National Anti-Corruption Commission. 23 p. [in Thai]

Chomchan, S. 2014. Dynamics of Thailand's agricultural policy: from the past to the present, Part 2 specific Thailand's agricultural Policy. 609 p. In Research Report. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]

State Audit Office of the Kingdom of Thailand. 2017. Farmers’ institute potential development to stabilize rubber prices and manage the government’s stocks. Bangkok: Rubber Authority of Thailand. Ministry of Agriculture and Cooperatives. [Online] Available https://www.oag.go.th (17 January 2018).

Various Outstanding Rubber Credits. 2015. Thairath. (2 June 2015): 8. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020