ผลของการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสงร่วมกับน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวพันธุ์ กข43 ที่ปลูกในระบบอินทรีย์
คำสำคัญ:
จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง, น้ำหมักชีวภาพ, ผลผลิต, ข้าวพันธุ์ กข.43, ระบบอินทรีย์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสงร่วมกับน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของข้าวพันธุ์ กข.43 ที่ปลูกด้วยระบบอินทรีย์ วางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 400 กระถาง แบ่งเป็น 4 กรรมวิธีๆ ละ 100 กระถาง จำนวน 4 ซ้ำๆ ละ 25 กระถาง โดยที่กรรมวิธีที่ 1 ชุดควบคุม (ใช้ปุ๋ยเคมี) กรรมวิธีที่ 2 ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง (PSB) กรรมวิธีที่ 3 ใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 และ กรรมวิธีที่ 4 ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสงร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ พด.2 ผลการศึกษาพบว่า การเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ กข.43 ที่ 30 และ 50 วัน ได้แก่ อัตราการรอดตาย ความสูงต้น การแตกกอ ปริมาณคลอโรฟิลล์ ของใบ วันที่ออกดอก และวันที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) รวมถึงผลผลิตของข้าวพันธุ์ กข.43 ได้แก่ จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดต่อรวง และเมล็ดดีต่อรวง และคุณภาพผลผลิตของข้าวพันธุ์ กข.43 ได้แก่ ความกว้างเมล็ด ความยาวเมล็ด น้ำหนักเมล็ด และน้ำหนักเมล็ดไม่รวมเปลือกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เช่นเดียวกัน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า สามารถใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสง (PSB) น้ำหมักชีวภาพ พด.2 และจุลินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสงร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ พด.2 ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวพันธุ์ กข.43 แบบอินทรีย์ได้
References
Deejing, S. and V. Sanguanpong. 2013. Study of organic and conventional rice soil quality for improvement of organic rice production. 89p. In Research Report. Chiang Mai: Maejo University. [in Thai]
Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 2004. International Year of Rice 2004. [Online]. Available http://www.rice2004.org (2 December 2009).
Kaenjampa, P. and B. Tengjaroenkul. 2017. Photosynthetic bacteria. Khon Kaen University Journal 2(4): 1-15. [in Thai]
Kantachote, D. and T. Kanta. 2014. Production of biofertilizer from photosynthetic bacteria in a solid form to enhance rice growth in saline paddy field. [Online]. Available http://rdo.psu.ac.th/ResearchProject/reDetail.php?pro_id=11932 (24 September2019). [in Thai]
Khush, G. 1997. Origin, dispersal, cultivation and variation of rice. Plant Molecular Biology 35: 25-34.
Liang, J. B.Z. Han. M.J.R. Nout and R.J. Hamer. 2008. Effects of soaking, germination and fermentation on phytic acid, total and in vitro soluble zinc in brown rice. Food Chemistry 110: 821-828.
Office of Technology Transfer. 2007. The production of bio extraction using super LDD 2. Bangkok: Land Development Department. [Online]. Available http://www.ldd.go.th/menu_Dataonline/G1/G1_15.pdf (26 September 2019). [in Thai]
Phromsri, N., S. Pimratch and K. Ratanacherdchai. 2017. Effect of Using Chemical Fertilizer and High Qrganic Fertilizer on Growth, Yield and Yield Components of Three Rice Varieties. pp. 620-628. In The 2nd Academic Conference of Graduate School. Mahasarakham: Rajabhat Mahasarakham University. [in Thai]
Poomipan, P., V. Latkanathinnawong, C. Pliumchareorn, P. Chomphuphiw and O. Thepsilvisut. 2017. Effect of high quality organic fertilizer on production of SuphanBuri1 rice. Journal of Science and Technology Thammasart University 25(2): 239-259. [in Thai]
Punpadit, J. 2015. Quality of Thammasat University Hospital waste, leaves marinated with local microbes from different sources used as an ornamental plant material. 39 p. In Research Project for Performance Development. Pathum Thani: Thammasat University Hospital. [in Thai]
Rice Department. 2019. Rice Knowledge Bank. [Online]. Available http://www.ricethailand.go.th/rkb3/15%E0%B8%81%E0%B8%8243.pdf (26 September 2019). [in Thai]
Sungayuth, N. 2018. The technology transfer of organic fertilizer production in basket and bio extract production from community waste. 103 p. In Final Report. Bangkok: Mahidol University. [in Thai]
Thai Rath. 2017. Preparedness of organic livestock for the national strategy. [Online]. Available https://www.thairath.co.th/content/115813 (23 February 2019). [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร