ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามรูปแบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกร ในเขตตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ชญานนท์ มิ่งสมร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นคเรศ รังควัต คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • จักรพงษ์ พวงงามชื่น คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การปฏิบัติของเกษตรกร, รูปแบบเกษตร ผสมผสาน, การพัฒนาการเกษตร , เกษตรกรรมยั่งยืน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกร เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามรูปแบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกร เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามรูปแบบเกษตรผสมผสานของเกษตรกร และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะของเกษตรกรต่อการทำเกษตรผสมผสาน ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรในเขตตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 213 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะพหุถดถอย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกษตรผสมผสาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีการปฏิบัติตามรูปแบบเกษตรผสมผสานอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามรูปแบบเกษตรผสมผสานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ รายได้จากภาคการเกษตร จำนวนพื้นที่ทำการเกษตร การเยี่ยมเยือนของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร

References

Bamrungkorn, S. 2003. Factors Relating to Farmers' Innovation Acceptance and Rejection. Master Thesis. Prince of Songkla University Pattani Campus. 121 p. [in Thai]

Jarinto, K. 1973. Agriculture Extension and Human Factors. Journal of Agricultural Extension 6(2): 30-48. [in Thai]

Lertmanokulchai, C. 1995. Farmer's Adoption of Charoen Pokphand Company's Sow Production Technology in Chiang Mai. Master Thesis. Chiang Mai University. 126 p. [in Thai]

Office of Agricultural Economics. 2016. Agricultural economic information. [Online]. Available http://www.oae.go.th/view/1/Information/EN-US (January 22, 2021).

Phrommakhatkaew, S. 1999. Factors Affection the Adoption of Mixed Farming in Doi-saket District Chiang Mai Province. Master Thesis. Chiang Mai University. [in Thai]

Prasitratthasin, S. 2003. Research Methodology in Social Science. 12th ed. Bangkok: Institute National Development Administration. 681 p. [in Thai]

Varo, P. 2010. Early Childhood Education Research. Bangkok: Sureewittayasant. 10 p.

Warakesiri, B. 1996. Agricultural Promotion Principles and Methods Chiang Mai. Master Thesis. Maejo University. 298 p. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Yuthong, W. 1982. Technology Acceptance of Low-income Farmers in Lampang and Sakon Nakhon Provinces. Master Thesis. Kasetsart University. 68 p. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2023