โครงสร้างตลาด เส้นทางการตลาด และห่วงโซ่อุปทานของไก่เบตง ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • ปิยะนันท์ นวลหนูปล้อง สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตรเขตร้อน คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา
  • สุธา วัฒนสิทธิ์ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา
  • บัญชา สมบูรณ์สุข ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา

คำสำคัญ:

โครงสร้างตลาด, เส้นทางการตลาด, ห่วงโซ่, อุปทาน, ไก่เบตง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างตลาด เส้นทางการตลาด และห่วงโซ่อุปทานของไก่เบตงที่เลี้ยงในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เบตงจำนวน 11 ราย พ่อค้าไก่ จำนวน 2 ราย และผู้ประกอบการร้านค้า จำนวน 4 ราย โดยใช้แบบสอบถามเชิงโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือ แล้วทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างตลาดไก่เบตงเป็นตลาดผู้ขายน้อยรายที่มีสินค้าเหมือนกันทุกประการ (pure oligopoly) สำหรับเส้นทางการตลาดของไก่เบตง เริ่มจากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เบตงมีชีวิต (100%) ผ่านผู้รวบรวมไก่เบตงมีชีวิต (100%) พ่อค้าขายส่งไก่เบตงชำแหละ (100%) ผู้ประกอบการร้านค้า (100%) ได้แก่ ร้านข้าวมันไก่ ภัตตาคาร โรงแรม เป็นต้น จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ส่วนห่วงโซ่อุปทานของไก่เบตงประกอบด้วย เกษตรกรที่เลี้ยงไก่เบตงเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการแบบกลุ่มเครือข่าย ผู้รวบรวมไก่เบตงมีชีวิต และพ่อค้าขายส่งไก่เบตงชำแหละซึ่งเป็นบุคคลเดียวกัน ผู้ประกอบการร้านค้า และผู้บริโภคไก่เบตง

References

Boonman, C. and S. Weesaphen. 2009. The evaluation of feasibility of Native chicken production for commerce in the community level case study: Mai-Ma-Dan grilled chicken, Baan-Kean grilled chicken and Native chicken trading in the market of Srisaket, Yasothorn, and Ubon Ratchathani province. 69 p. In Research Report. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai].

Buakeeree, K., M. Thepparat and T. Thepparat. 2018. The development of Betong chicken production for commerce in Klong Hoi Klong district, Songkhla province. Prawarun Agr. J. 15(1): 130-137. [in Thai]

Chatreewong, D. and W. Waree. 2006. Optimum market age and weight of Betong chicken. Songklanakarin J. Sci. Technol. 28(2): 311-319. [in Thai]

Diversity Research Section Bureau of Animal Husbandry and Genetic Improvement Department of Livestock Development. 2014. Announcement of native animal breed, Betong chicken. [Online]. Available http://breeding.dld.go.th/biodiversity/chm/pvp_chm/pvp_culture%202.html (20 August 2015). [in Thai]

Kerdsuk, V. and W. Kerdsuk. 2009. Feasibility of the demand for native chicken or native hybrid chicken for commercial in community level. 87 p. In Research Report. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]

Leotaragul, A., C. Prathum, S. Pangmao and A. Phianmongkhol. 2010. Satisfaction of consumers with native chicken (Pradu Hangdum Chiangmai) meat. Khon Kaen Agr. J. 38: 104-107. [in Thai]

Madyun, W. 2010. The Study on Broiler Marketing System in Satun Province. Minor Thesis. Prince of Songkla University. 119 p. [in Thai]

Thammarat, W. 2006. Marketing of Broilers in Songkhla Province. Minor Thesis. Prince of Songkla University. [in Thai]

Wongsuthavas, S. and K. Sombun. 2009. Feasibility study of the using of native chicken or native hybrid chicken for commercial in community level: Sakon Nakorn province. 77 p. In Research Report. Bangkok: The Thailand Research Fund. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019