การปฏิบัติในระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ (MRCF SYSTEM) ของนักส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การปฏิบัติ, ระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่, นักส่งเสริมการเกษตรบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของนักส่งเสริมการเกษตร 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติในระบบ การส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ (MRCF System) ของ นักส่งเสริมการเกษตร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ของ นักส่งเสริมการเกษตร และ 4) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานในระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ของนักส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ นักส่งเสริมการเกษตรที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 172 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการศึกษาพบว่า นักส่งเสริมการเกษตรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 42 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีรายได้รวมเฉลี่ย 28,513 บาทต่อเดือน มีหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 351,396 บาท มีตำแหน่งที่ได้รับในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ มีอายุงานเฉลี่ย 14 ปี และมีประสบการณ์ใน การอบรมหรือดูงาน เฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่มีช่องทางการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ ผ่านทางเอกสารเผยแพร่ ส่วนใหญ่มีภาระงานที่ได้รับมอบหมายคือ งานตามนโยบายของรัฐบาล และนักส่งเสริมการเกษตรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่อยู่ในระดับมากและมีการปฏิบัติ ตามระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่อยู่ในระดับ ปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ของนักส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ อายุ ภาระงานและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หนี้สินรวม ในครัวเรือน การเข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานเกี่ยวกับ MRCF และตำแหน่งทางสังคมของนักส่งเสริมการเกษตร
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามระบบการส่งเสริมมิติใหม่ของนักส่งเสริมการเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่สำคัญ ได้แก่ 1) ระบบโปรแกรมวาดแปลง QGIS, gisagro, Faamis ความเร็วของอินเทอร์เน็ต ไม่มีความเสถียร 2) พื้นที่เป็นพื้นที่นอกเหนือเอกสารสิทธิ์ ไม่รู้ขอบเขตของแปลงเกษตรกร 3) พื้นที่ห่างไกล สื่อโซเชียลยังเข้าไม่ถึง 4) ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารระหว่างนักส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกร 5) ปัญหาเกษตรกรมีภารกิจมากที่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน 6) หน่วยงานร่วมบูรณาการมีหน้าที่และความรับผิดชอบหลายงานขาดการมีส่วนร่วม 7) การวิเคราะห์ “พื้นที่ คน สินค้า” ดำเนินการไม่เป็นไปตามกรอบระยะเวลาเนื่องจากมีภารกิจมาก และ 8) ปัญหาการตีกรอบของงานทำให้งานไม่ชัดเจนมีความคลุมเครือ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมีข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามระบบการส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ คือ ควรมีการพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตให้มีความทันสมัยควรมีการสนับสนุนให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาใช้ มากขึ้น ควรเน้นการปฏิบัติงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ และควรมีการจัดฝึกอบรมให้แก่ นักส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับระบบการส่งเสริมมิติใหม่ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
Downloads
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร