กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดข้าวอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Katesuda Sitthisuntikul Faculty of Economics, Mae Jo University
  • บัญจัตน์ โจลานันท์ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตลาด, ข้าวอินทรีย์, กลยุทธ์ส่วนประสม, ทางการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะตลาดข้าวอินทรีย์และวิเคราะห์กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดข้าวอินทรีย์ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด             จังหวัดเชียงใหม่ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบลักษณะตลาด 4 ลักษณะ ได้แก่ ตลาดผู้ผลิตซึ่งเป็นการซื้อขายปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างผู้ผลิตกับผู้ผลิต ตลาดผู้บริโภคซึ่งเป็นตลาดขายปลีกของผู้ขายและผู้บริโภค ตลาดคนกลางซึ่งผู้ผลิตขายข้าวให้กับคนกลางเพื่อไปจำหน่ายต่อ และตลาดการเรียนรู้ซึ่งเกิดจากลูกค้าที่ต้องการเรียนรู้การผลิตข้าวอินทรีย์ ส่วนกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ปัจจัยการผลิต ข้าวเปลือก ข้าวสีแล้ว ด้านการจัดจำหน่าย ได้แก่ บ้านผู้ผลิต ตลาดนัดในชุมชนและนอกชุมชน การออกบูธ การขายตรง การสื่อสารผ่านโทรศัพท์และสื่อออนไลน์ และการจำหน่ายให้หน่วยรับซื้อกลาง ด้านราคา ได้แก่ การกำหนดราคาตามลักษณะผลิตภัณฑ์ ตามพันธุ์ข้าว ตามลักษณะการขายข้าวสาร ตามบรรจุภัณฑ์ข้าวสาร และตามระยะทางการขายข้าวสาร และด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การเสนอขายแบบเผชิญหน้า การแจกนามบัตร การเสนอขายบนสื่อออนไลน์ การจัดกิจกรรมเรียนรู้ การแจกหรือแถม และการบอกเล่าประสบการณ์ตรง

References

Beungbua, P. and C. Kimsawas. 2015. The marketing strategy of community production with sharing process under the philosophy of sufficiency economy. Journal of Behavioral Science for Development 7(1): 281-294. [in Thai]

Etzel, J.M., B.J. Walker and W.J. Stanton. 2004. Marketing. 13 ed. Boston: Mcgraw-Hill, Inc. 674 p.

Hossain, S.T., H. Sugimoto, H. Ueno and S.M.R. Hugue. 2007. Adoption of organic rice for sustainable development in Bangladesh. Journal of Organic Systems 2(2): 27-37.

Juntawanich, S. 2003. Qualitative Research Methodology. 17 ed. Bangkok: Chulalogkorn University Press. 233 p. [in Thai]

Klarnkleung, M. 2013. Business Strategies for Organic Rice of Nonkortung Community Bussiness Group, Amnatcharoen Province. pp. 88-125. In Proceedings of the Third Symposium, 9 September, 2011. Ubon Rachathani: Ubon Rachathani Rajabhat University. [in Thai]

Kongrit, V. and S. Petrat. 2016. Cost of production and marketing way of organic rice in Southern Thailand. Hatyai Academic Journal 14(2): 185-200. [in Thai]

Parinyasatekul, S. and A. Thaihiran. 2017. The development of marketing learning management model for promoting community business: a case study of earthenware at Khoa Kret community. Journal of Information 16(1): 61-75. [in Thai]

Prasunluk, N. and T. Apipanyakul. 2014. Production management and marketing of Sakon Nakhon rice and Khon Kaen black glultinious rice. Journal of Khon Kaen and Mahasarakam University (Graduate Studies) 2(1): 51-59. [in Thai]

Rungreaungphon, W. 2009. Marketing Principle. The 5th edition. Bangkok: Thammasat University Book Center. 352 p. [In Thai]

Santiwong, T. 2013. Consumer Behavior in Marketing. Bangkok: PPC Publishing Co. Ltd. 320 p. [in Thai]

Srijam, J., S. Koohasawanvate and N. Rojnirutikul. 2015. Marketing mix in consumer decision for buying organic rice in Bangkok and metropolitan area. Journal of Industrial Education 14(3): 697-704. [in Thai]

Srijunnin, S. 2010. Marketing strategy for business of small and medium enterprises, Bangkualy district, Nonthaburi province. 77 p. In Research Report. Nonthaburi: Rajapruk University. [in Thai]

Sutthiyotin, N. 2015. Developing an organic rice marketing model for farmers in upper northern region. STOU Journal of Agriculture 1(2): 31-47. [in Thai]

Taweesuk, P. 2015. Thai entrepreneur’s opinion on marketing mix strategy for organic rice. Journal of Sithiparithat 29(92): 166-181. [in Thai]

Yotkaew, P. 2017. Development of organic rice marketing in Thai social. Journal of MCU Peace Studies 5(Special Issue): 406-420. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-08-2021