ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการปลูกมันฝรั่งของเกษตรกรในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การปฏิบัติ, ส่งเสริมการเกษตร, มันฝรั่ง, การยอมรับบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษาการปฏิบัติการปลูกมันฝรั่งของเกษตรกร 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการปลูกมันฝรั่งของเกษตรกร และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกมันฝรั่งของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 131 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์พหุถดถอย
ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสจบการศึกษาในระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 2 คน มีจำนวนหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 134,500 บาท มีรายได้เฉลี่ย 5,938.93 บาทต่อเดือน มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 10.76 ไร่ มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 9.53 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการฝึกอบรมทางการเกษตร 1 ครั้งต่อปี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 1 ครั้งต่อปี เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อเดือน มีประสบการณ์ในการปลูกมันฝรั่งเฉลี่ย 12 ปี เกษตรกรมีระดับการปฏิบัติการปลูกมันฝรั่งอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการปลูกมันฝรั่งของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ จำนวนแรงงานในครัวเรือน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และประสบการณ์การปลูกมันฝรั่ง สำหรับปัญหาในการปฏิบัติการปลูกมันฝรั่งของเกษตรกรที่พบ ได้แก่ การเกิดโรคระบาดในมันฝรั่ง ต้นทุนการผลิตสูง ปัญหาดินเสื่อมสภาพ ความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ซึ่งเกษตรกรเสนอแนะว่าหน่วยงานที่ส่งเสริมควรมีการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดโรคและแมลงในมันฝรั่ง ควรหาแนวทางให้ราคารับซื้อผลผลิตสูงขึ้น และควรมีตลาดรับซื้อผลผลิตมากขึ้น
References
Chaipiriyakit, A., S. Fongmul, P. Kruekum P. Jeerat, N. Vetchasitniraphai and T. Khamtavee. 2019. Factors affecting adoption corn planting technology of farmers in Phawo sub-district, Mae Sot district, Tak province. Journal of Agricultural Production 1(1):43-53. [in Thai]
Chaisongkram, R. and K. Worrapimphong. 2019. Factors affecting farmer’s adoption of palm oil management following oil palm plantation extension workshop in La-ngu district, Satun province. King Mongkut's Agricultural Journal 37(3): 552-558. [in Thai]
Janthong, N. and P. Sakkatat. 2017. Farmers adoption of melon planting against drought in Lat Bua Luang district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Journal of Agriculture 33(3): 405-414.
Meckhayai, T. 2018. Risk management of potato production in San Sai district, Chiang Mai province. Journal of Liberal Arts 6(2): 17-31. [in Thai]
Office of Agricultural Economics. 2019a. Potato 2020 (crop year 2019/2020). [Online]. Available http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/forecastdata/files/forecast/situation/19S_PO.pdf (12 November 2019). [in Thai]
Office of Agricultural Economics. 2019b. Potatoes: planted area harvesting area and productivity per rai of year 2019. [Online]. Available http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/1_potato%2062.pdf (12 November 2019). [in Thai]
Prasitratsin, S. 2003. Social Research Methodology. Bangkok: National Institute of Development Administration. 711 p. [in Thai]
Saipatthana, U. and C. Piyapimonsit. 2004. Collinearity. Parichart Journal 17(1): 55-62. [in Thai].
Thongdee, N., Y. Borisutdi and P. Prapatigul. 2015. Factors affecting oil palm production practices by farmers in Bueng Kan Province. Khon Kaen Agriculture Journal 43(Suppl.1): 1025-1031. [in Thai]
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร