ความรู้และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความรู้ในการเลี้ยงโคนม , การปฏิบัติทาง การเกษตรที่ดี , ฟาร์มโคนมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คือ 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม 2) ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนม 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และ 4) ปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรทั้งหมด 327 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในอำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 180 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมเท่ากับ 0.73 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าแบบทดสอบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมเท่ากับ 0.80
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50.80 ปี มีสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือน 4 คน มีแรงงาน 4 คน มีรายได้จากการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 792,582.24 บาทต่อปี มีจำนวนโคนมเฉลี่ย 45 ตัว มีพื้นที่ในการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 9 ไร่ มีแหล่งเงินทุนสำหรับการเลี้ยงโคนม 2 แหล่ง คือ กู้ยืมจากสหกรณ์โคนมและกู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 13.58 ปี รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 9 ครั้ง ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรที่ดีเฉลี่ย 2 ครั้ง เข้าฝึกอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 2 ครั้ง เกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมมีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 73.33 และมีระดับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.23) สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม ได้แก่ ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม (Sig.=0.034) และปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่ อายุ (Sig.=0.008) จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (Sig.=0.031) รายได้จากการเลี้ยงโคนม (Sig.=0.039) และการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรที่ดี (Sig.=0.046) และปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ได้แก่ แหล่งเงินทุนสำหรับการเลี้ยงโคนม (Sig.=0.031)
ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม พบว่าขาดเงินทุนในการปรับปรุงหรือก่อสร้างฟาร์มโคนมเพิ่มเติม ฟาร์มโคนมตั้งอยู่ในเขตชุมชน อาหารหยาบ ได้แก่ ข้าวโพดโรงงาน หญ้าตามธรรมชาติ มีไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงโคนม อาหารข้นสำหรับโคนมมีราคาแพง น้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคภายในฟาร์ม แรงงานที่จ้างมาทำหน้าที่ดูแลเลี้ยงโคนมขาดความรู้ ความชำนาญในการเลี้ยงโคนม และโคนมมีปัญหาเกี่ยวกับกีบเท้า ผสมเทียมติดยาก โคนมคลอดใหม่รกค้าง และเกิดโรคต่าง ๆ ในโคนม อีกทั้งยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยารักษาโคนม ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจึงมีข้อเสนอแนะ คือ มีการจัดตั้งศูนย์ผลิตหรือรวบรวมอาหารหยาบที่มีคุณภาพไว้ให้เพียงพอ ควรให้หน่วยงานทั้งภาครัฐมาควบคุมราคาอาหารข้นสำหรับโคนม และให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้ยารักษาโคนม
References
Kanjanasamranwong, P. 2017. Principles of Statistics. Nonthaburi: IDC Premier. 568 p. [in Thai].
Kessung, P. 2016. Action Research. Bangkok: Chulalongkorn University Press. 301 p. [in Thai].
Kristry, D. 1984. Principle of Agricultural Extension Method. Bangkok: Thai Wathanaparnit. 263 p. [in Thai].
Livestock Office Region 5. 2019. A report on dairy cattle population and amount of raw milk based on each cooperative and raw milk collection centurion upper Northern Thailand, February, 2019. [Online]. Available http://webcache.googleusercontent.com (20 March 2019).
National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. 2008. Good Agricultural Practices for Dairy Cattle Farm. Bangkok: National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards. 28 p.
Painvijite, K. 2010. Application of Organic Rice Production Technology by Farmers in Phayakkhaphum Phisai District, Maha Sarakham Province. Master Thesis. Khon Kaen University. 15 p. [in Thai].
Pengsawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Science Research. Bangkok: Suwiriyasarn. 410 p. [in Thai].
Prasitrathasint, S. 2002. Applications of Statistical Methods in Research. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 352 p. [in Thai].
Thawirat, P. 1993. Behavioral Science Research Methodology. Bangkok: Finger Print and Media. 303 p. [in Thai].
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. Tokyo: Aoyama Gakuin University. 886 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร