การใช้วัสดุเหลือทิ้งยาสูบเป็นแหล่งธาตุไนโตรเจนสำหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยเทคโนโลยีกองสถิตดูดอากาศ

ผู้แต่ง

  • บัญจรัตน์ โจลานันท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • เกศสุดา สิทธิสันติกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัสดุเหลือทิ้งยาสูบ, แหล่งธาตุไนโตรเจน, ปุ๋ย, การหมักปุ๋ย, ดูดอากาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 1) เพื่อประยุกต์ใช้วัสดุเหลือทิ้งยาสูบเป็นแหล่งธาตุอาหารหลักในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ระดับชุมชน และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลเทคโนโลยีกองสถิตย์ดูดอากาศและคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์สำหรับการใช้ประโยชน์ด้านเกษตรของกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ เทศบาลตำบลออนใต้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการศึกษากองหมักขั้นนำร่องขนาด 1 ตันต่อกอง (จำนวน 2 ซ้ำ) วัสดุเหลือทิ้งยาสูบและเศษใบไม้แห้ง ถูกผสมที่อัตราส่วน 300:300 กิโลกรัม (1:1) โดยมวล และผสมปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ดร้อยละ 3-5 เป็นต้นเชื้อจุลินทรีย์ ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) และค่าความชื้นเริ่มต้นอยู่ในช่วง 20-25 และร้อยละ 60-65 ตามลำดับ ตลอดระยะเวลาการหมักได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของปุ๋ยหมักจนสิ้นสุดการสังเกตการณ์ (60 วัน) รวมทั้งการวิเคราะห์ผลทางเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ผลการศึกษาพบว่าวัสดุเหลือทิ้งยาสูบมีปริมาณไนโตรเจน (ร้อยละ 3.08 โดยน้ำหนัก) และปริมาณอินทรีย์วัตถุค่อนข้างสูง ขณะที่ปริมาณสารกลุ่มโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว โครเมียม แคดเมียม และปรอท มีค่าต่ำกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม การหมักวัสดุเหลือทิ้งยาสูบร่วมกับเศษใบไม้แห้งโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบกองสถิตดูดอากาศให้ประสิทธิภาพการย่อยสลายและเข้าสู่ช่วงการหมักแบบเทอร์โมฟิลิค (61.7-63.0°ซ.) อย่างรวดเร็วและนานถึง 36 วัน คุณภาพของปุ๋ยหมักที่ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งกำหนดโดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2548/2551) ระบบการหมักแบบกองสถิตดูดอากาศสามารถผลิตปุ๋ยหมักที่อัตราเฉลี่ย 12 ตันต่อปี (มวลเปียก) โดยระบบการหมักมีระยะเวลาคืนทุน 1.36 ปี (16.32 เดือน) และค่าใช้จ่ายในการผลิตเฉลี่ย 0.75 บาทต่อกิโลกรัมปุ๋ยหมัก

References

Epstein, E. 1997. The Science of Composting. Lancaster: A Technomic Publishing. 487 p.

Jolanun, B., S. Tripetchkul, C. Chiemchaisri, P. Chaiprasert and S. Towprayoon. 2005. Effect of moisture content on fed batch composting reactor of vegetable and fruit wastes. Environmental Technology 26: 293-301.

Jolanun, B. and S. Towprayoon. 2010. Novel bulking agent from clay residue for food waste composting. Bioresource Technology 101(12): 4484-4490.

Jolanun, B. 2013. Composting: Science & Technology Simplified. Chiang Mai: Mr.James Design and Print. 155 p. [in Thai].

Jolanun, B., C. Kaewkam, O. Bauoon and C. Chiemchaisri. 2014. Turned windrow composting of cow manure as appropriate technology for zero discharge of mulberry pulp wastewater. Environmental Technology 35(16): 2104-2114.

Jolanun, B., K. Sasudjit and M. Maungrung. 2016. Negative Pressure Mode for Composting of Wastewater from Mulberry Pulp and Paper Handicraft. pp. 22-27. In Proceedings of the 2nd Environment and Natural Resources International Conference (ENRIC 2016) 16-17 November 2016. Ayutthaya: Mahidol University.

Polprasert, C. 1996. Organic Waste Recycling 2nd Edition. Chichester: John Wiley & Sons Ltd. 412 p.

Shakeel, S. 2014. Consideration of tobacco dust as organic amendment for soil:A soil & waste management strategy. Earth Sciences 3(5): 117-121.

Soil and Plant Analysis Council, Inc. 1999. Soil Analysis Handbook of Reference Methods. Boca Raton: CRC Press. 247 p.

Yodsing, N. 2009. Production of Crude Extract from Herbs for Insecticides. Master Thesis. Ubon Ratchathani Rajabhat University. 95 p. [in Thai].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-04-2021