การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรของเกษตรกร ในเขตเทศบาลตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พุฒิสรรค์ เครือคำ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สุดใจ วรรณวิชิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กอบลาภ อารีศรีสม สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของเกษตรกร , การอนุรักษ์ ภูมิปัญญาการเกษตร, การสืบสานวัฒนธรรม ท้องถิ่น

บทคัดย่อ

       

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร  2) ระดับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรของเกษตรกร  3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรของเกษตรกร และ  4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลแม่แฝก จำนวน 278 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์พหุถดถอย

การศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 54.64 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 2 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 3.30 ไร่ รายได้จากการทำการเกษตรเฉลี่ย 63,284.17 บาทต่อปี กู้จากแหล่งเงินทุนเฉลี่ย 118,288.95 บาท ได้รับข่าวสารด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อเดือน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ด้านการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี  ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ประสบการณฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี ระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในพื้นที่เฉลี่ย 37.71 ปี และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่มีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมมากสุด คือ ด้านการรับผลประโยชน์ รองลงมา ได้แก่ ด้านการเสนอทางออกและการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติการและดำเนินงาน และน้อยสุดคือ ด้านการติดตามประเมินผล สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ เพศ รายได้จากการทำการเกษตร ประสบการณ์ฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตรและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และระยะเวลาการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในพื้นที่ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรที่สำคัญ คือ เกษตรกรไม่มีเวลาเนื่องจากมีงานมาก ขาดการประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานที่จัดกิจกรรม เกษตรกรไม่ได้รับผลประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ที่ชัดเจน และขาดการวางแผนกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วมและสอดคล้องกับความต้องการ โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานพัฒนาควรมีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมให้ทั่วถึงและตรงกลุ่มเป้าหมาย มีการกำหนดแผนการจัดกิจกรรมล่วงหน้าในรอบปี และควรมีการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรให้แก่ชุมชน

References

Charoenlak, N., T. Unaromlert and N. Sungrugsa. 2018. A study of wisdom and conservation and revival of the way of life of pomelo farmers in the Nakhon Chai Si river basin. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal 21(1): 181-198. [in Thai]

Jindason, S. and J. Klaitabtim. 2015. A people’s participation in mangrove conservation of bangyaphrak subdistrict, Mueang district, Samut Sakhon province. Academic Journal Bangkokthonburi University 4(2): 162-173. [in Thai]

Mae Faek municipal office. 2019. 5-year Local Development Plan (2018-2020). Chiang Mai: Planning and Policy Analysis Department, Mae Faek Municipal Office. 296 p. [in Thai]

Patsin, T. 2017. A management of environmental with local wisdoms: The case study Ban Nonggoa Kosumphisal district, Mahasarakham province. Chophayom Journal 28(1): 193-202. [in Thai]

Pimsen, P. 2002. Language and Literature Local Isan. KhonKaen: Prathammakhant. 192 p. [in Thai]

Prasitratsin, S. 2005. Applications of Statistical Methods in Research. 4th. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 445 p. [in Thai]

Sampantamit, T., S. Roongtawanreongsri and A. Itharat. 2009. Economic valuation of potential utilization of medicinal plants in Khao Hua-Chang community forest, Tambon Tamot, Amphoe Tamot, Phatthalung Province. Songklanakarin Journal of Social Sciences and Humanities 15(6): 943-960. [in Thai]

Sukloy, T. and N. Mungkung. 2006. Factor affecting community’s participation in forest resource conservation: Klongsai village, Wang Nam Khiao sub-district, Wang Nam Khiao district, Nakhon Ratchasima province. Applied Economics Journal 13(1): 15-26. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2022