คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำของอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ณัฐรินทร์ ศิริรัตนนันท์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • พรทิศา ทองสนิทกาญจน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ธนภัทร วรปัสสุ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ปิยพงศ์ บางใบ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ดิษฐพล ตั้งมั่น คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

คุณภาพน้ำ, อ่างเก็บน้ำ, เพชรบูรณ์

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งหมดที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง อ่างเก็บน้ำห้วยป่าเลา อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองเฉลียงลับ และอ่างเก็บน้ำห้วยนา รวม 5 แห่ง เป็นระยะเวลา 12 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2661 โดยเก็บตัวอย่างน้ำทุกๆ 3 เดือน   ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำตลอดทั้งปีของอ่างเก็บน้ำทั้ง 5 แห่ง มีค่าอุณหภูมิของน้ำอยู่ระหว่าง 22.75±0.35 ถึง 32±0.00ºซ ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH)  อยู่ระหว่าง 8.2±0.00 ถึง 8.9±0.00 ปริมาณออกซิเจน      ที่ละลายในน้ำ (DO) มีค่าอยู่ระหว่าง 6.35±0.07 ถึง 10.7±0.00 มก./ล. ปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.75±0.07 ถึง 15.0±2.82 มก./ล. ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total coliform bacteria) มีค่าอยู่ระหว่าง 1.90±0.14 ถึง 240±5.56 เอ็ม.พี.เอ็น/100 มล. และปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอล       โคลิฟอร์ม (Fecal coliform bacteria) มีค่าอยู่ระหว่าง 1.80±0.00 ถึง 240±11.32 เอ็ม.พี.เอ็น/100 มล. คุณภาพน้ำตลอดทั้งปีของอ่างเก็บน้ำทั้ง 5 แห่ง จัดเป็นแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 2 ถึง 3 ตามประกาศข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดินของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อตามปกติ และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน นอกจากนี้สามารถใช้ประโยชน์ได้ในการอนุรักษ์ สัตว์น้ำ การประมง การว่ายน้ำ และกีฬาทางน้ำ รวมถึงการเกษตร แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์เฉลี่ยต่อปีของน้ำในอ่างเก็บน้ำ ทั้ง 5 แห่ง มีแนวโน้มค่อนข้างสูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานจึงอาจไม่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค และในช่วงฤดูฝนควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยป่าแดง และอ่างเก็บน้ำห้วยป่าเลา เนื่องจากมีปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด และปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มสูงขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับฤดูกาลอื่น

References

APHA. 1998. Standard Methods for the Examination of Water and Waste Water. 20th. Washington DC: American Public Health Association, American Water Works Association and Water Environmental Federation. 874 p.

Group of Management and Map and Data Map Service. (Editor). 2017. The Report of Mapping Project about Slope Revealing in Phetchabun Area for land Improvement. Bangkok: Bureau of Surveying and Mapping Technology. 65 p. [in Thai]

Marine Department. 2016. 4 Pasak at June 2016. [Online]. Avaialble https://https://www.md.go.th/md/index.php/2014-01-19-05-02-28/2016-07-25-03-15-33/2016-11-23-07-42-29/-2559-4/-14-2559/04-3/2461-4-2559-1 (27 March 2019). [in Thai]

Moonsin, P. 2016. Diversity of macroalgae and some water quality parameters in Huay Tham Khae reservoir, Trakan Phuet Phon district, Ubon Ratchathani Province. KMUTT Research and Development Journal. 39(1): 37-50. [in Thai]

National Environment Board. 1994. Regulation of Water Quality Standards in Surface Water Sources. Announcement of National Environment Board 8: 234-240. [in Thai]

Regional Environment Office 6. 2011. Pasak river. [Online]. Available https://reo06.mnre.go.th/EnviBase/index.php/2011-09-18-04-01-28/2011-09-18-11-03-51/2011-09-18-11-23-36/2011-09-18-12-29-48 (27 March 2019). [in Thai]

Paramesnapond, U. 2010. A study of water quality and varieties of protozoa species in the Chao Phraya river at Nonthaburi Province. SDU Res J 3(1): 21-33. [in Thai]

Phetchabun Irrigation Project. (Editor). 2017. Development Planning of Water Resources in Phetchabun. Phetchabun: Bureau of Irrigation 10. 120 p. [in Thai]

Pongswat, S., S. Suphan, S. Ritthisorn and B. Rujit. 2013. A study on water quality and the amount of certain minerals in the area above and inside hot spring pipe, in the Bang Phra reservoir, Chonburi province, from May to August 2011. Burapha Sci J. 18(2): 179-194. [in Thai]

Sriyasak, P., N. Whangchai, C. Chitmanat, J. Promya and L. Lebel. 2014. Impacts of climate and season on water quality in aquaculture ponds. KKU Res. J. 19(5): 743-751. [in Thai]

Wangwibulkit, S. 2009. Water Quality for Fisheries. Bangkok: Faculty of Agricultural Technology King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. 120 p. [in Thai]

Water Resources Regional Office 2. (Editor). 2017. Guidelines for Solving Drought and Flood Problems in Pa Sak River Basin. Bangkok: Deparment of Water Resources. 27 p. [in Thai]

Wuttisin, I. 2017. Water and Water Quality Management for Aquatic Animals Rearing. pp. 168-211. In Committee of Course Production Group in Aquaculture Management: Teaching Document of Course Set in Unit 1-7 Aquaculture Management. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University Press. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-04-2020