ผลของวิธีการตอนต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและส่วนประกอบซาก ของแพะลูกผสม (แบล็คเบงกอล x ซาเนน) เพศผู้

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ หมั่นวิชา คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ไพโรจน์ ศิลมั่น คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สมปอง สรวมศิริ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

แพะ, การตอน, ฮอร์โมน, การเจริญเติบโต, ซาก

บทคัดย่อ

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวิธีการตอนต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและส่วนประกอบซากของแพะลูกผสม (แบล็คเบงกอล x ซาเนน) โดยใช้แพะรุ่นเพศผู้ จำนวน 20 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) กลุ่มทดลองประกอบด้วย กลุ่มไม่ตอน (ควบคุม; กลุ่มที่ 1) กลุ่มฉีดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Medroxyprogesterone acetate 50 มก.; กลุ่มที่ 2) กลุ่มตอนด้วยคีมเบอร์ดิซโซ (Burdizzo; กลุ่มที่ 3) และกลุ่มผ่าเอาอัณฑะออก (Castration; กลุ่มที่ 4) ระยะเวลาทดลอง 16 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า แพะกลุ่มที่ตอนด้วยวิธีต่างๆ มีค่าเฉลี่ยอัตราการเจริญเติบโต (P<0.01) ปริมาณการกินได้ (P<0.01) ต้นทุนค่าอาหาร (P<0.01) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว 1 กก. (P<0.05) และต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำหนักเพิ่ม 1 กก. (P<0.05) ดีกว่าแพะกลุ่มที่ไม่ตอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แพะกลุ่มที่ตอนมีค่าเฉลี่ยของไขมันรวมสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ตอนอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างระหว่างแพะเพศผู้ที่ไม่ตอนและการตอนต่อน้ำหนักมีชีวิตเมื่อนำไปฆ่า น้ำหนักซากอุ่น เปอร์เซ็นต์ซาก เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง และเปอร์เซ็นต์กระดูก

 

References

AOAC. 1998. Official Methods of Analysis, 16th ed. Gaithersburg, Maryland: Association of Official Analytical Chemists. 122 p.

Chevaisarakul. 2003. Goat Management. Chiangmai: Thanaban Publishing. 145 p. [in Thai]

Dunshea, F.R., C. Colantoni, K. Howard, I. McCauley, P. Jackson, K.A. Long, S. Lopaticki, E.A. Nugent, J.A. Simons, J. Walker and D.P. Hennessy. 2001. Vaccination of boars with a GnRH vaccine (Improvac) eliminates boar taint and increase growth performance. J. Anim. Sci 79: 2524-2535.

Goering, H.K. and P.J. Van Soest. 1970. Forage Fiber Analysis. Washington D.C.: Agriculture, Handbook No.379. 128 p.

Jaturasitha, S. 2004. Meat Management. Chiangmai: Mingmuang Press. 170 p. [in Thai]

Klein, B.G. 2013. Veterinary Physiology. 5th ed. St. Louis, Missouri: An Imprint of Elsevier Inc. 608 p.

Orankanok, S. and P. Kwunon. 2013. Effect of immunological castration on productive performance of male market hogs. 20 p. In Research Report. Chonburi: Rajamangala University of Technology Tawan-ok. [in Thai]

Rhee, K.S. and C.E. Myers. 2004. Sensory properties and lipid oxidation in aerobically refrigerated cooked ground goat meat. Meat Sci 66: 189-194

Roadchanasakun, A. 1989. Drug Therapy in Gynecologic Endocrinology. Bangkok: Kgawfung Press. 444 p. [in Thai]

Sangworakhan, P., S. Intachinda and A. Putaranang. 2008. Study on carcass characteristic of 50, 62.5 and 75% boer crossbred goat under feedlot condition by castrated and intact male. [Online]. Available http://e-journal.dld.go.th/?p=594. (3 April 2020). [in Thai]

SAS. 1990. SAS/STATTM User’s Guide (Release 6.03). Cary, NC: SAS Inst., Inc.

Sricharoen, S., P. Kwunon and S. Orankanok. 2013. Effect of immunological castration on productive performance of male pigs. Agri. Sci. J 44(1): 223-226. [in Thai]

Sruamsiri, S. 2014. Anatomy and Physiology of Farm Animals. Chiangmai: Maejo University Press. 330 p. [in Thai]

Steel, R.G.D. and J.H. Torrie. 1984. Principle and Procedures of Statistics. 2nd ed. New York: Mc Graw Hill Book Co. Inc. 633 p.

Wattanachant, C. 2018. Goat meat: some factors affecting fat deposition and fatty acid composition. Songklanakarin J. Sci. Technol 40(5): 1152-1157.

Wiseman, J. 1984. Fats in Animal Nutrition. 1st ed. London: An Imprint of Butterworth-Heinemann. 536 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-08-2021