ความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนา ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กังสดาล กนกหงษ์ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

ความต้องการในการส่งเสริม, สวนครัว, พื้นบ้านแบบล้านนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกร และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 375 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ           ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีสมาชิก     วัยเรียนในครัวเรือนเฉลี่ย 1 คน มีจำนวนสมาชิกวัยแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีรายได้เฉลี่ย 13,816.80 บาทต่อเดือน มีพื้นที่ถือครองในครัวเรือนเฉลี่ย 9.6 ไร่ รับรู้ข่าวสาร        ด้านการเกษตรเฉลี่ย 25 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน    เข้าร่วมกิจกรรมและประเพณีของหมู่บ้านหรือชุมชนเฉลี่ย 2 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรมีการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการทำการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่    มีการเข้าร่วมการฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านการเกษตร เฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีประสบการณ์การปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านเฉลี่ย 16.8 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าอยู่ในระดับความต้องการมาก ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาของเกษตรกร ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนสมาชิกวัยแรงงานในครัวเรือน รายได้ในครัวเรือน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การเข้าร่วมการฝึกอบรมและศึกษา         ดูงานด้านการเกษตร และประสบการณ์การปลูกพืชผักสวนครัวพื้นบ้านของเกษตรกร

ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมปลูกพืชสวนครัวพื้นบ้านแบบล้านนาได้แก่ 1) โรคและแมลงทำลายผลผลิต            2) ในฤดูแล้งมีน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร      3) ผลผลิตราคาไม่แน่นอน 4) ขาดความรู้ในการปลูกพืชและการป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช และเกษตรกรเสนอแนะว่า ควรมีการจัดอบรมเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช การทำน้ำหมักชีวภาพ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ควรวางแผนการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชน สร้างเครือข่ายการผลิตทางการเกษตรร่วมกับชุมชน และควรมีตลาดรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

References

Charroenmoon, K. and P. Taechaprasertvitaya. 2012. Needs for extension of beef cattle farmers in Amphoe Phon Changwat Khon Kaen. Khon Kaen Agriculture Journal 40(Special Issue): 327-333. [in Thai]

Kananit, S., P. Prapatigul and C. Wongsamun. 2017. Farmers’ needs for agricultural development from Wathong subdistrict Administrative Organization Phuwiang district, Khon Kaen province. Khon Kaen Agriculture Journal. 40(special Issue): 1515-1521. [in Thai]

Kruekum, P., K. Piwnyl, S. Thaisamuk and W. Kankaew. 2017. Farmers’ decision making process on the participation in temperate fruit production extension project in the Royal project area. Journal of Agricultural Research and Extension 34(3): 53-62. [in Thai]

Prasithrathsint, S. 2003. Social Science Research Methodology. 12thed. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 681 p. [in Thai]

Rungjaeng, T. and C. Wongsamun. 2015. Needs for knowledge and support on cotton fabric production of members of weaving women groups in Changwat Udon Thani. Khon Kaen Agriculture Journal 43(1): 1020-1024. [in Thai]

Sakkatat, P. and P. Kruekum. 2017. Factors affecting organic or chemical agricultural practice of farmers in Chiang Mai. Journal of Agricultural Research and Extension 34(2): 66-77. [in Thai]

Valaisathien, P. 2002. The Process of Enhancing Participation. pp. 74-80. In The Seminar Documentation of synergy created 2nd. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security. [in Thai]

Wansri, N. and C. Wongsamun. 2015. Needs for extension and support on para rubber production of farmers in So Phisai district, Buengkan province. Khon Kaen Agriculture Journal 41(1): 1007-1012 [in Thai]

Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row. 886 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-04-2020