การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ถิรพันธ์ ปิ่นหย่า สาขาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นคเรศ รังควัต สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กังสดาล กนกหงษ์ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, โครงการระบบส่งเสริม, การเกษตรแบบแปลงใหญ่, นาแปลงใหญ่, เกษตรกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร  2) ความรู้เกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่  3) เหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร  4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร  5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยการวิจัยนี้ใช้วิธีแบบผสม คือ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก จากกลุ่มประธานนาแปลงใหญ่ในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างวิธีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 ราย วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยจำแนกเป็นประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสัมภาษณ์ โดยได้สุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Yamane (1967) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่    สถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ การถดถอยพหุ (Multiple regression analysis)

ผลการศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า เหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จากกลุ่มประธานตามกระบวนการตัดสินใจ       ทั้ง 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหา ขั้นตอนที่ 2 การพิจารณาค้นหาทางเลือก ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลทางเลือก และขั้นตอนที่ 4 การตัดสินใจเลือกทางเลือก โดยมีประเด็นที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรวมกลุ่ม 2) ด้านการผลิต และ 3) ด้านการตลาด

ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56 ปี ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสถานภาพสมรส สมาชิก        ในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีแรงงานในครัวเรือนที่ใช้ในการ         ทำนาเฉลี่ย 2 คน พื้นที่ในการทำนาเฉลี่ย 5.85 ไร่ มีรายได้ในการทำนาเฉลี่ย 74,474.29 บาทต่อปี แหล่งเงินทุนที่ใช้ในการทำนาส่วนใหญ่ใช้ทุนของตนเอง มีประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 30 ปี เป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 2 กลุ่ม การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่เฉลี่ยประมาณ 3 ครั้งต่อเดือน การติดต่อเจ้าหน้าที่ทางด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี การเข้าฝึกอบรมหรือศึกษาดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่อยู่ในระดับมาก เฉลี่ย 9.22 คะแนน และเกษตรกรมีการให้ความสำคัญของเหตุผล          ในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.38 สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ได้แก่ ระดับการศึกษา การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ด้านการเกษตร การฝึกอบรมหรือศึกษาดูงานด้านการเกษตร และความรู้เกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเชิงลบ ได้แก่ อายุ

ปัญหาเกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่ 1) ขั้นตอนในการเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่มีเงื่อนไขในการสมัครเข้าร่วมโครงการยุ่งยาก 2) การฝึกอบรมเน้นวิชาการมากกว่าการปฏิบัติ 3) ปัญหาเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สนับสนุนไม่เพียงพอ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่ 1) โครงการฯ ควรลดขั้นตอนในการเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 2) การฝึกอบรมควรเน้นวิชาการให้สมดุลกับการปฏิบัติ 3) โครงการฯ ควรสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มากขึ้นและเร็วขึ้น

References

Dangprok, C. 2008. Decision-making Process to Join Activities of Sri-Muang, Fang District, Chiang Mai. Master Thesis. Maejo University. 103 p. [in Thai]

Kabbua, C. 2009. Factors Affecting Farmers’ Decision on Organic Agricultural Project Participation in Mae-Tha Sub-District, Mae-On District, Chiang Mai. Master Thesis. Maejo University. 137 p. [in Thai]

Laklang, S. 2012. Decision Making on Organic Rice Production of Farmers in Su Rin Province. Master Thesis. King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. 103 p. [in Thai]

Large Agricultural Project. 2017. Large agricultural member. [Online]. Available https://bigfarm60.doae.go.th/bigfarm60masterlist.php?start=21 (25 March 2017). [in Thai]

Lertkhunalak, J. 2012. Factors Influencing Farmer’s Decision Making in Good Agricultural Practices (GAP) of Mango Production Project in Pak Chong District, Nakhon Ratchasima Province. Master Thesis. King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. 70 p. [in Thai]

Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2016. Operation manual for large-scale agricultural extension systems. [Online]. Available https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER068/GENERAL/DATA0000/0000040.PDF (29 June 2018). [in Thai]

Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2018. Rice development. [Online]. Available https://www.moac.go.th/news-preview-401591791369 (25 August 2018). [in Thai]

Pansa, R. 2015. Factors Effecting the Decision-maing in Para Rubber Production of Farmers in Phusing District, Srisaket Province. Master Thesis. Maejo University. 137 p. [in Thai]

Phodee, A. 2013. Rice and ASEAN Economy. [Online]. Available https://stouonline.stou.ac.th/courseware/courses/agriculture/.../Agriculture%20module1.pdf (1 July 2018). [in Thai]

Promthong, W. 2008. Factors of Decision Making on New Theory Farming Practices by Farmers in North-eastern Region of Thailand. 50 p. In Research Report. Pathum Thani: Faculty of Agricultural Technology Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]

Rice Department. 2015. Large agricultural farming extension project. [Online]. Available https://www.ricethailand.go.th/web/index.php/2017-04-05-07-50-40 (24 December 2017). [in Thai]

Rice Department. 2017. Large agricultural farming extension project. [Online]. Available https://www.ricethailand.go.th/web/index.php/2017-04-05-07-50-40 (25 December 2017). [in Thai]

Tassanchan, A. 1983. Rice Information. Bangkok: Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Kasetsart University Press. 315 p. [in Thai]

Wiang Pa Pao Agricultural Office. 2015. Agricultural development plan. [Online]. Available https://wiangpapao.chiangrai.doae.go.th/ (15 March 2018). [in Thai]

Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row. 886 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-04-2020