บทบาทผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นิศาชล เตจ๊ะขอด สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กังสดาล กนกหงษ์ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาการพัฒนาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้นำ, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของผู้นำ        กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน             จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน        จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้นำในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ        ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รองประธานกลุ่ม และเลขานุการ จำนวน 328 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ          เชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็น   เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรส มีรายได้หลักจากการทำงานประจำเฉลี่ย 12,655 บาทต่อปี มีรายได้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 10,792 บาทต่อปี ได้รับเงินปันผลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 8,476 บาทต่อปี มีหนี้สิ้นภายในกลุ่มเฉลี่ย 24,032 บาทต่อปี ส่วนใหญ่มีระยะเวลาการเป็นผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 8 ปี ผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำกลุ่มอื่นๆ มีการเข้าร่วมประชุมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมศึกษาดูงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 1 ครั้งต่อปี และได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน (ทุกช่องทาง) เฉลี่ย 4 ครั้งต่อปี จากการศึกษาบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.65) โดยมีบทบาทด้านโครงสร้างและการนำองค์กรอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.64) ด้านการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.68) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสมาชิกกลุ่มอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.54) ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืนอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย 3.92) ส่วนในด้านการสร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายอยู่ในระดับปานกลาง (เฉลี่ย 3.47) ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับบทบาทของผู้นำในการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ทุกด้าน ได้แก่ รายได้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวนเงินปันผล และการเข้าร่วมประชุมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig < 0.01)

ปัญหาและอุปสรรคของผู้นำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ การจัดจำหน่ายสินค้ายังไม่มีตลาดเข้ามารองรับ ขาดความรู้ในการจัดจำหน่ายสินค้าในช่องทางออนไลน์ ขาดเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย ขาดการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายภายในกลุ่ม รวมถึงการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการจัดการควบคุมดูแลบริหารจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกลุ่มเครือข่ายให้มีมากเพิ่มขึ้นสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มเครือข่ายได้

 

References

Chalongsuk, R. 2007. Sample Size. Thai Journal of Phamacy. 4: 1-19. [in Thai]

Chiangmai Provincial Agricultural Extension Office. 2017. Chiang Mai Community Enterprise Information Report. Chiang Mai: Chiang Mai Provincial Agricultural Extension Office. 23 p. [in Thai]

Jermkhuan, R. 2016. The elderly’s potentiality of wisdom usage for remuneration, Chiangmai Province. Academic Journal Uttaradit Rajabhat University 11: 67-84. [in Thai]

Kamkom, N. 2016. Community enterprise and sufficiency economy philosophy. [Online]. Available: https://flagship.prd.go.th/ewt_news.php?nid=4347&filename=index (23 September 2016). [in Thai]

Kasornbua, T. and O. Namsawat. 2013. The competency development of One Tambon One Product (OTOP) community enterprise to small and medium enterprises (Sees): a case study of processed banana food products community enterprise. Modern Management Journal 11: 74-86. [in Thai]

Sakkatat, P., S. Kungwon and N. Tuntusantisom. 2012. Strength of Community’s Spa and Thai Traditional Massage Business in Chiang Mai. pp. 1342-1349. In Proceedings of the 9th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference. Nakhon Pathom: Kasetsart University Kamphaeng Saen. [in Thai]

Sereerat, S. 2002. Organization and Management. Bangkok: Thammasat University. 337 p. [in Thai]

Smithakasertrin, D. 2009. Marketing Management and Community Enterprise. Nonthaburi: School of Management Science Sukhothai Thammathirat Open University. 338 p. [in Thai]

Tanaisri, A. 2012. Community enterprise. [Online]. Available: https://ophbgo.blogspot.com/ (28 September 2017). [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication. 1130 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020