ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรตต่อความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในเขตรากพืช การชักนำการเปิดปิดของปากใบและคุณภาพของผลลำไย

ผู้แต่ง

  • วินัย วิริยะอลงกรณ์ สาขาวิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ลำไย, คาร์บอนไดออกไซด์ในเขตรากพืช, โพแทสเซียมคลอเรต, คุณภาพของผล, ค่าการชักนำการเปิดปากใบ

บทคัดย่อ

โดยทั่วไปเชื่อกันว่าการได้รับสารโพแทสเซียม คลอเรต (KClO3) ทำให้ต้นลำไยเกิดความเครียดแต่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความเครียดทางสรีรวิทยาของต้นลำไยนี้ยังมีอยู่จำกัด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของระดับความเครียดทางสรีรวิทยาของต้นลำไยที่ได้รับ KClO3 ต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตลำไย โดยดัชนีความเครียดที่ศึกษา ได้แก่ ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในเขตราก และค่าการชักนำการเปิดปากใบ (Stomatal conductance) โดยศึกษากับต้นลำไยอายุประมาณ 15 ปี ในสวนเกษตรกรอำเภอพร้าว และต้นลำไยอายุประมาณ 10 ปี ของสวนลำไยสาขาไม้ผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ สวนละ 6 ต้น ต้นลำไยทั้งหมดมีสภาพสมบูรณ์แข็งแรง การศึกษานี้ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design; CRD) มี 2 กรรมวิธีคือ ราดและไม่ราด KClO3 อัตรา 800-1,000 กรัม/ต้น แต่ละกรรมวิธีมี 3 ซ้ำ โดยใช้ต้นลำไยเป็นซ้ำ พบว่าความเข้มข้นของ CO2 และค่าการชักนำการเปิดปากใบของต้นลำไยที่ได้รับ KClO3 สูงกว่าต้นที่ไม่ได้ราด KClO3 ตั้งแต่ระยะดอกบานถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ยังพบในทั้ง 2 สวนว่า ความเข้มข้นของ CO2 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณความชื้นดิน ซึ่งมีผลให้ความเข้มข้นของ CO2 เพิ่มสูงขึ้นตามระดับความชื้นดิน แสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของ KClO3 และความชื้นดิน ที่เหมาะสมมีผลต่อสภาวะเครียดในระดับที่ไม่มีผลต่อ การเจริญเติบโตทางสรีรวิทยาของลำไย ในขณะเดียวกัน พบว่าการได้รับและไม่ได้รับ KClO3 ของต้นลำไยในสวนเกษตรกรอำเภอพร้าว ไม่มีผลให้คุณภาพของผลลำไยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ ผลผลิตลำไยจากต้นที่ไม่ได้รับ KClO3 ในสวนของมหาวิทยาลัย แม่โจ้ มีน้ำหนักผลต่อต้น น้ำหนักเปลือก น้ำหนักเนื้อ น้ำหนักเมล็ด และความหนาของเปลือก มากกว่าต้น ที่ได้รับ KClO3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (Total soluble solid) จากต้น ที่ได้รับ KClO3 มากกว่าต้นที่ไม่ได้รับ KClO3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการจัดการสวนที่ดี รวมถึงการให้น้ำในระดับที่เหมาะสม จึงเป็นผลดีต่อกิจกรรมต่างๆ ของรากพืช และการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตในอัตราที่เหมาะสมจะช่วยให้ลำไยออกดอกและติดผลดีกว่าโดยไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตลำไย

References

Bryla, D.R., T.J. Bouma and D.M. Eissenstat. 1997. Root respiration in citrus acclimates to temperature and slows during drought. Plant Cell and Envi. 20(11): 1411-1420.

Desikan, R., R.A-H. Mackemess, J.T. Hancock and S.J. Neill. 2001. Regulation of Arabidopsis Transcriptome by oxidative stress. Plant Physiol. 127: 195-172.

Hashimoto, S., N. Tanaka, M. Suzuki, A. Inoue, H. Takizawa, I. Kosaka, K. Tanaka. C. Tantasirin and N. Tangtham. 2004. Soil respiration and soil CO2 concentration in a tropical forest, Thailand. J. of Forest Research 9: 75-79.

Huang, X., A.N. Lakso and D.M. Eissenstat. 2005. Interactive effects of soil temperature and moisture on concord grape root respiration. J. of Exp. Bot. 56(420): 2651-2660.

Kintsakun, D. and T. Tunsuwan. 2002. Effect of Potassium Chlorate on Rate of Photosynthesis Carbohydrate and Nitrogen Content of Longan. J. of Agriculture 18(3): 180-189. [in Thai]

Lambers, H., O.K. Atkin and F.F. Millenaar. 1996. Respiratory Patterns in Roots in relation to Their Functioning. pp. 323-362. In Waisel Y., A. Eshel and K. Kafkaki (eds.). Plant Roots the Hidden Half. 3rd edition. New York: Marcel Decker, Inc.

Liu, H.S. and F.M. Li. 2006. Effects of shoot excision on in situ soil and root respiration of wheat and soybean under drought stress. Plant Growth Regulation 50(1): 1-9.

Manochai, P., Y. Kaosuman, C. Sritontip and S. Chanjaraja. 2003. Longan Production and Technology. Bangkok: Kehakaset Magazine Press. 125 p. [in Thai]

Manochai, P., P. Sruamsiri, W. Wiriya-Alongkorn, D. Naphrom, M. Hegele and F. Bangerth. 2005. Year around off season flower induction in longan (Dimocarpus longan,Lour.) trees by KClO3 applications: potentials and problems. Sci. Hort. 104(4): 379-390.

Manochai, P., S. Ongprasert, S. Ussahatanonta and B. Kativat. 2010. Seasonal effect of potassium chlorate on flowering and yield of longan (Dimocarpus longan Lour.). Acta Hortic 863: 363-366.

Ongprasert, S., W. Wiriya-Alongkorn and W. Spreer. 2010. The factors affecting longan flower induction by chlorate. Acta Hortic. 863: 375-380.

Pankasemsuk, T. 1999. Longan and Potassium Chlorate. Chiang Mai: Chiang Mai University Press. 53 p. [in Thai]

Sethpakdee, R. 1999. Flowering of longan and using plant growth substance induction. Kehakaset Magazine 23(4): 88-96. [in Thai]

Sritontip, C., P. Tiyayon, M. Hegele, P. Sruamsiri, D. Naphrom, P. Manochai and J.N. Wunsche. 2010. Effects of temperature and potassuim chlorate on leaf gas exchange and flowering in longan. Acta Hortic. 863: 323-328.

Wiriya-Alongkorn, W., S. Ongprasert, W. Spreer, T. Müller and U. Srikasetsarakul. 2010. Aeroponics to monitor root growth of longan trees. Acta Hortic. 863: 403-406

Wiriya-Alongkorn, W. 2013. Use of Thermophotography Camera to Measure Drought Stress and Effects on Physiological Changes in Longan Trees. Doctoral Dissertation. Chiang Mai University. 106 p.

Wiriya-Alongkorn, W., W. Spreer, S. Ongprasert, K. Spohrer and J. Muller. 2016. Influence of Water Supply on CO2 Concentration in the Root zone of Split-Root Potted Longan Trees pp. 346-356. In Springer, Cham. International Conference on Intelligent Robotics and Applications. Heidelberg: Springer International Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-04-2021