ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกส้มโอในพื้นที่อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
สิ่งบ่งชีทางภูมิศาสตร์, ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่, การเพิ่มมูลค่า, การประเมินความ เหมาะสมของพื้นที่บทคัดย่อ
นโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยทุกระดับโดยการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local economy) ส่งเสริมการค้าการลงทุนภายในท้องถิ่นให้เข้มแข็งมีความสามารถในการแข่งขัน ที่จะผลักดันให้สินค้า GI ไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าชุมชนอย่างยั่งยืน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญา จะเกิดขึ้นเมื่อมีความเชื่อมโยงระหว่าง ธรรมชาติและมนุษย์ วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้ คือ 1) ศึกษาลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ปลูกส้มโอ 2) วิเคราะห์ความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกส้มโอ และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างปัจจัยทางภูมิศาสตร์และความเหมาะสมของพื้นที่ปลูก ส้มโอ การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลภูมิประเทศ อุตุนิยมวิทยา และอุทกวิทยา เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ วิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกส้มโอ ด้วยวิธีวิเคราะห์แบบถ่วงน้ำหนักอย่างง่าย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่าลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญของพื้นที่ปลูกส้มโอ มีทั้งสิ้น 8 ปัจจัย ประกอบด้วย (1) การระบายน้ำของดิน (2) ความลาดชัน (3) ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (4) ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (5) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี (6) ปริมาณไนโตรเจนในดิน (7) ปริมานฟอสฟอรัสในดิน และ (8) ปริมาณโพแทสเซียมในดิน มีระดับความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับปลูกส้มโอ 280.42 ตร.กม. หรือร้อยละ 87.27 ของพื้นที่ทั้งหมด ปัจจัยเชิงบวกที่สำคัญที่สุด คือ ปริมาณฟอสฟอรัสในดินในขณะเดียวกันปัจจัยเชิงลบที่สำคัญของความสัมพันธ์ คือ ปริมาณโพแทสเซียมในดิน การวิจัยครั้งนี้จะนำข้อมูลไปเป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายถึงลักษณะจุดเด่นของแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และองค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่ปลูกส้มโอ ที่ทำให้ส้มโอบ้านแท่นมีจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากส้มโอที่ปลูกในแหล่งอื่น การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของส้มโอบ้านแท่น จะเป็นการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่ม อันจะนำไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรในระดับประเทศและระดับสากลต่อไป
References
Amatayakul, P. and T. Chomtha. 2014. Agricultural Meteorology to Know for Chaiyaphum. Chaiyaphum: Agrometeorological Division, Meteorological Development Bureau, Meteorological Department. 139 p. [in Thai]
Center of Intellectual Property and Business Incubator. 2016. Geographical Indications: GI. [Online]. Available http://tuipi.tu.ac.th/tuip06.php (10 June 2020). [in Thai]
Chanaboon, S. 2017. Multiple linear regression. [Online]. Available http://www.kkpho.go.th/i/index.php/component/attachments/download/1933 (10 June 2020). [in Thai]
Chuong, H.V. and M. Boehme. 2005. Evaluation of Physical Land Suitability for the "Thanh Tra" Pomelo Crop in Hue, Vietnam. pp. 1-7 In Conference on International Agriculture Research for Development, Deutscher Tropentag 2005, October 11-13, 2005. Stuttgart-Hohenheim: University of Hohenheim.
Department of Agriculture (DOA). 2000. Strategies for Driving Pomelo Exports. Workshop (2000: Nakhon Pathom). Nakhon Pathom: Office of Agricultural Research and Development Region 5, Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperative (MOAC). Chainat OARC5, 2001. 528 p. [in Thai]
Department of Intellectual Property (DIP). 2011. Geographical Indications protection act, B.E. 2546 (2003). [Online] Available http://www.ipthailand.go.th/th/dip-law-2/item/geographical-indications-protection-act-b-e-2546-2003.html (10 June 2020). [in Thai]
Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 1983. Guidelines: Land Evaluation for Rainfed Agriculture. FAO Soils Bulletin. No.52. Rome: FAO. 109 p.
Land Development Department (LDD). 2000. Handbook for Soil Suitability Classification for Economic Crops in Thailand. 2ndBangkok: Soil Survey Division, Department of Land Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives. 74 p. [in Thai]
Land Development Department (LDD). n.d. Nutrients that are essential to plant growth. [Online]. Available http://osl101.ldd.go.th/easysoils/s_prop_nutri01.htm (5 February 2021). [in Thai]
Public Relations Province Office, Chaiyaphum. 2011. General conditions and basic information of Ban Thaen district. [Online]. Available https://pr.prd.go.th/chaiyaphum/ewt_news.php?nid=1093&filename=index.2563 (10 June 2020). [in Thai]
Rojanaphonthip, C. 2019. "Ban Thaen", a source of pomelo production million, delicious taste pleasing the market, How much is not enough to sell. [Online]. Available http://lrls.nfe.go.th/LRLS/frontend/theme/view_page.php?ID_Page=17178 (10 June 2020). [in Thai]
Sangudom, T., Y. Kasinkasaempong, N. Supakamnerd, W. Makkumrai and S. Phonoy. 2015. Orchard management to achieve export quality of pummelo fruits. 69 p. In Research report. Bangkok: Agricultural Research Development Agency (Public Organization). [in Thai]
Saravisutra, A. 2016. Multi-criteria decision making: comparison between SAW, AHP and TOPSIS concept and methods. Princess of Naradhiwas University Journal 8(2): 108-192. [in Thai]
Suphatthra, L., C. Sirikantayakul, S. Chootummatat, A. Joodkong and B. Khangkamanee. n.d. Study on appropriated environment for the good quality of pummeloes in Songkhla province. [Online]. Available https://www.doa.go.th/oard8/wp-content/uploads/2019/08/v5801-11.pdf (5 February 2021). [in Thai]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร