ศักยภาพของธาตุสังกะสีและโบรอนต่อการลดอาการผิดปกติของเปลือกลำไย

ผู้แต่ง

  • วินัย วิริยะอลงกรณ์ สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • วัชรินทร์ จันทวรรณ์ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

สังกะสี, โบรอน, ลำไย, การติดผล , สารโพแทสเซียมคลอเรต

บทคัดย่อ

ตั้งแต่มีการค้นพบว่าสารโพแทสเซียมคลอเรต   ชักนำการออกดอกของลำไยได้ เกษตรกรไทยจึงเชื่อว่าสามารถผลิตลำไยได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตามการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อต้นลำไย โดยทำให้มีลักษณะอาการผิดปกติบางอย่าง คือ เปลือกเป็นสีแดงและแข็ง ทำให้ไม่      สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งมีผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมากต่อการทำสวนลำไยในภาคเหนือของไทย จึงจำเป็น    ต้องหาทางแก้ปัญหาดังกล่าว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาเปลือกสีแดงที่เกิดขึ้นและการปรับปรุง     ธาตุอาหารของต้นลำไย ดังนั้นจึงมีการใช้สังกะสีและโบรอน โดยการฉีดพ่นทางใบต่อการเจริญเติบโตของผลลำไยเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่ได้พ่น วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design: CRD) แบ่งการทดลองเป็น 7 กรรมวิธี ๆ ละ 5 ซ้ำ โดยใช้ต้นเป็นซ้ำคือ กรรมวิธีควบคุม (พ่นน้ำเปล่า) กรรมวิธีที่ 2 โบรอน 0.1%  กรรมวิธีที่ 3 โบรอน 0.2% กรรมวิธีที่ 4 สังกะสี 0.1% กรรมวิธีที่ 5 สังกะสี 0.2% กรรมวิธีที่ 6 โบรอน + สังกะสี 0.1% และกรรมวิธีที่ 7 โบรอน + สังกะสี 0.2%  ในเดือนแรกของการทดลอง พบว่าต้นควบคุมมีจำนวนผลต่อช่อมากกว่าต้นที่ฉีดพ่นสังกะสีและโบรอน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการเก็บเกี่ยว

 

พบว่าในด้านคุณภาพของผล ต้นที่ได้รับสังกะสีและโบรอน มีน้ำหนักเนื้อและน้ำหนักผลสูงขึ้นมากกว่าการพ่นน้ำเปล่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความกว้าง ความยาวของผล ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ น้ำหนักเปลือก และน้ำหนักเมล็ด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ      ทางสถิติ อย่างไรก็ตามสีผิวเปลือกของลำไยพบว่า การพ่นโบรอนร่วมกับสังกะสี ความเข้มข้น 0.2 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ลำไยมีสีผิวเปลือกเป็นสีเขียวและเหลืองได้อย่างชัดเจนเมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยมีความแตกต่างกันอย่าง         มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนใบลำไยที่ได้รับสังกะสีและโบรอนพบว่า หลังการพ่นปริมาณของธาตุทั้งสองในใบ      มีการเพิ่มมากขึ้นกว่าค่ามาตรฐาน แสดงให้เห็นว่าการใช้สังกะสีและโบรอนทางใบสามารถดูดซึมเข้าทางใบไปเก็บสะสมและนำไปใช้ในทุกระยะการเจริญเติบโต แม้ว่าการกำหนดแผนการทดลองอาจจะไม่เหมาะสมที่จะพิสูจน์ว่าสามารถช่วยลดอาการเปลือกสีแดงได้ในลำไยที่เป็นผลมาจากการขาดธาตุอาหารเสริม แต่ก็แสดงให้เห็นว่าการใช้สังกะสีและโบรอนทางใบสามารถลดการเกิดอาการเปลือกสีแดงในลำไยได้ ดังนั้นควรฉีดพ่นธาตุสังกะสีและโบรอนทางใบให้เพียงพอ

References

Jaroenkit, T. 2017. Maejo: Knowledge of Longan Varieties. Chiang Mai: Maejo University. 12 p.

Jaroenkit, T., S. Maichoo, P. Manochai and S. Ratanamano. 2010. Effect of fruit bagging on chemical compositions and skin pigments of fresh longan (Dimocarpus longan Lour.). Acta Hort 863: 397-399.

Jeyakumar, P., D. Durgadevi and N. Kumar. 2001. Effect of zinc and boron fertilization on improving fruit yields in papaya (Carica papaya L.) cv. Co5. pp. 356-357. In Plant Nutrition Developments in Plant and Soil Sciences, Springer. DOI: 10.1007/0-306-47624-X_172.

Khaosumain, Y., C. Sritontip and S. Changjaraja. 2005. Nutritional status of declined and healthy longan trees in Northern Thailand. Proc. 2nd ISHS on Lychee, Longan, Rambutan & Other Sapindaceae Plants. Acta Hort 665: 275-280.

Manochai, P., W. Suton, C. Senanan and J. Srijan. 2007. The Development of training system for the reduction cost by the cultivation of dwarf longan trees. 42 p. In Research Report. Chiang Mai: Maejo University. [in Thai]

Manochai, P. 2002. Tropical Fruit. Chiang Mai: Department of Horticulture, Faculty of Agricultural Production, Maejo University. 173 p.

Menzel, C.M. 1983. The control of floral initiation in lychee: a review. Scientia Horticulturae 21(3): 201-205.

Paimprom, A., W. Wiriya-alongkorn and E. Threenet. 2019. Protein Biomarkers from Physiological Disorder Syndrome in Seed of Longan on Fruit Growth Using 2-D Gel Coupled with LC-MS/MS. pp. 440-447. In Proceedings of Conference on National Congress. Khonkaen: Khonkaen University. [in Thai]

Roygrong, S. 2009. Role of Boron and Zinc in Growth and Flowering of Lychee (Litchi chinensis Sonn.). Doctoral Dissertation. Institute of Plant Nutrition Rhizosphere and Fertilization Universität Hohenheim. 10 p.

Suksawat. M. 2001. Soil Ferfility. Bangkok: Odeon Store. 344 p. [in Thai]

Somsang, S. 2008. Comparison of Colour Change of Lychee (Lichi chinensis Sonn. (cv. Guang Jao)) Preserved by Ultra High Pressure and Heat Treatments. Master Thesis. Chiangmai University. 108 p.

Threenet, E., A. Kleawkla, W. Wiriyaalongkorn and A. Joomwong. 2017. Evaluation of protein markers for identification of physiological disorder syndromes in longan fruit. Research Report. Chiang Mai: Maejo University. 107 p. [in Thai].

Wiriya-Alongkorn. W., S. Roygrong, W. Spreer, S. Ongprasert, V. Römheld and T. Müeller. 2007. Effectiveness of Micro-nutrient Fertilization in Off-season Longan Production in Northern Thailand. Topentag 2007. pp. 1-16. In Conference on International Agricultural Research for Development, October 9-11. Germany: University of Kassel-Witzenhausen and University of Göttingen.

Wiriya-Alongkorn, W., J. Sananan, W. Spreer and C. Kanjanaphachoat. 2015. The impact of climatic variation on phenological change, yield and fruit quality of longan (Dimocarpus longan Lour.) C.V. “Daw” in Northern Thailand. 14 p. In Research Report. Chiang Mai: Maejo University.

Wiriya-Alongkorn, W., W. Spreer, S. Ongprasert, K. Spohrer and J. Müller. 2016. Influence of water supply on CO2 concentration in the root-zone of split-root potted longan trees. ICIRA 2: 346-356.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2022