ระยะการเจริญเติบโตที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวใบชุมเห็ดเทศ ให้ได้สารอนุพันธ์ไฮดรอกซีแอนทราซีนปริมาณสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
คำสำคัญ:
ชุมเห็ดเทศ , Senna alata (L.) Roxb, การเก็บเกี่ยว, ระยะการเจริญเติบโต, สารอนุพันธ์ไฮดรอกซีแอนทราซีนบทคัดย่อ
ชุมเห็ดเทศเป็นสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติใช้สำหรับบรรเทาอาการท้องผูก ความแปรปรวนของปริมาณสารสำคัญออกฤทธิ์ จะส่งผลต่อคุณภาพและประสิทธิผลของการนำไปใช้ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้การเก็บเกี่ยวสมุนไพรในระยะการเจริญเติบโตที่เหมาะสมจะทำให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะการเจริญเติบโตที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวใบชุมเห็ดเทศให้ได้สารอนุพันธ์ไฮดรอกซีแอนทราซีนรวมปริมาณสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยเพาะเมล็ดและย้ายลงแปลงปลูก ดูแลรักษา และสุ่มเก็บตัวอย่างใบต่อเนื่องเป็นเวลาสองปี วิเคราะห์ปริมาณสารอนุพันธ์ไฮดรอกซีแอนทราซีนรวมในทุกเดือน โดยใช้หลักการสเปกโทรโฟโตเมตรี ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทยกำหนดชุมเห็ดเทศที่มีคุณภาพต้องมีปริมาณสารอนุพันธ์ไฮดรอกซีแอนทราซีนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 1.0 โดยน้ำหนักแห้ง ผลการศึกษาพบว่า ชุมเห็ดเทศเจริญเติบโตได้ดี สภาพแข็งแรงตลอดการศึกษา ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารในใบชุมเห็ดเทศที่มาจากการเจริญเติบโตในปีแรก พบสารอนุพันธ์ไฮดรอกซีแอนทราซีน
รวมมีปริมาณสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยใบชุมเห็ดเทศเมื่อต้นอายุ 4 แล 6 เดือน ซึ่งเป็นระยะก่อนออกดอก พบร้อยละ 1.59±0.014 และ 1.07±0.080 โดยน้ำหนักแห้ง และใบชุมเห็ดเทศเมื่อต้นอายุ 9 แล 10 เดือน ซึ่งตรงกับระยะออกดอก พบปริมาณร้อยละ 1.51±0.096 และ 1.26±0.057 โดยน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ส่วนการเจริญเติบโตของชุมเห็ดเทศในปีที่สอง พบใบชุมเห็ดเทศ มีปริมาณสารสูงตามเกณฑ์มาตรฐานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์และมีปริมาณสูงต่อเนื่องไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน (พบร้อยละ 1.05±0.058 ถึง 2.09±0.013 โดยน้ำหนักแห้ง) ซึ่งเป็นช่วงการเจริญเติบโตของพืชทั้งปี สรุปผลระยะการเจริญเติบโตที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวใบชุมเห็ดเทศ โดยยังมีสารอนุพันธ์ไฮดรอกซีแอนทราซีนรวมปริมาณสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานนั้น สามารถเก็บเกี่ยวได้ทั้งช่วงระยะก่อนและหลังจากที่พืชออกดอก โดยการเจริญเติบโตในระยะปีแรก การเก็บเกี่ยวใบจะต้องพิจารณาช่วงอายุต้นร่วมด้วย
References
Bansiddhi, J., Y. Techadamrong and A. Chuthaputti. 2002. Standard of Thai Herbal Medicine: Senna alata (L.) Roxb. Bangkok: E.T.O press. 80 p. [in Thai]
Bartnik, M. and P.C. Facey. 2017. Glycoside. pp. 101-161. In Simone B.M. and D. Rupika. Pharmacognosy. United Kingdom: Academic press.
Dechatiwongse, T. and P. Chavalittumrong. 1998. Quality analysis of Cassia alata Linn. leaves. TJPS. 13(3): 309-315.
Dechatiwongse, T., Y. Jewvachdamrongkul and W. Jirawattanapong. 1988. Quality Evaluation of Vegetable Drugs. Report of Phytochemical Activity under the project Thai-German Technical Cooperation for Health Medicinal Plants for Primary Health Care Programmes. Bangkok: Phytochemistry section, Division of Medical Research, Department of Medical Sciences. 67 p.
Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. 2018. Thai Herbal Pharmacopoeia 2018. Bangkok: Prachachon Co., Ltd. 808 p.
Elujoba A.A., O.O. Ajulo and G.O. Iweibo. 1989. Chemical and biological analyses of Nigerian Cassia species for laxative activity. J Pharm Biomed Anal. 7(12): 1453-1457.
Farnsworth, N.R. and N. Bunyapraphatsara. 1992. Thai Medicinal Plants: Recommended for Primary Health Care System. Bangkok: Medicinal Plants Information Center. 402 p.
Gritsanapan, W. and S. Nualkaew. 2001. Variation of anthraquinone content of Cassia surattensis. Warasan Phesatchasat 28(1-4): 28-34. [in Thai]
Hennebelle, T., B. Weniger and F. Bailleul. 2009. Senna alata. Fitoterapia 80: 385-393.
Herbal Research and Development Division, Department of Medical Sciences Ministry of Public Health. 1990. Herbal Guide for Primary Health Care. 3rd. Bangkok: Text and Journal Corporation Co., Ltd. 53 p. [in Thai]
Herbal Research and Development Division, Department of Medical Sciences Ministry of Public Health. 1995. Guideline for Herb Raw Material. Bangkok: The War Veterans Organization Officer of Printing Mill Press. 72 p. [in Thai]
Ogunti E.O. and A.A. Elujobi. 1993. Laxative activity of Cassia alata. Fitoterapia 64(5): 437-439.
Panichayupakaranant, P. and N. Intaraksa. 2003. Distribution of hydroxyanthracene derivatives in Cassia alata and the factors affecting the quality of the raw material. SJST. 25(4): 497-502.
Research and Development of Herbal Product, Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. 2002. Chum Het Thet Senna alata (L.) Roxb. Bangkok: Ro So Pho Printing House. 80 p. [in Thai]
Sachati S. 2015. Research and development of medicinal plants and spices potential. 244 p. In Research Report. Bangkok: Department of Agriculture. [in Thai]
Thamlikitkul, V., N. Bunyapraphatsara and V. Gingsungneon. 1990. Randomized controlled trial of Cassia alata Linn for constipation. J Med Assoc Thai. 73(4): 217-222.
The Sub-committee on National Essential Drug List Development. 2013. A Guide of Manufacturing and Quality Assurance of Herbal in National Essential Drug List for Hospital Pharmacopoeia 2012. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federative of Thailand Printing Press. 164 p. [in Thai]
Wikaningtyas, P. and E.Y. Sukandar. 2016. The antibacterial activity of selected plants towards resistant bacteria isolated from clinical specimens. Asian Pac J Trop Biomed. 6(1): 16-19.
Wuthi-Udomlert M., P. Kupittayanant and W. Gritsanapan. 2010. In vitro evaluation of antifungal activity of anthraquinone derivatives from Senna alata. J Health Res. 24(3): 117-122.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร