การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยาสูบของเกษตรกรในเมืองหนองบก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • อ่อนสี ไชยราช สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พหล ศักดิ์คะทัศน์ สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สายสกุล ฟองมูล สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี, การปลูกยาสูบ, เมืองหนองบก, สาธารณรัฐประชาธิปไตย, ประชาชนลาว

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา   1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยาสูบของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยาสูบของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกยาสูบของเกษตรกรในเขตพื้นที่เมืองหนองบก  แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ        ในเมืองหนองบก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 182 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่  การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า (Enter multiple regression analysis)

ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51 ปี อยู่ในสถานภาพสมรส      สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า       มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 7 คน มีแรงงานในการปลูกยาสูบเฉลี่ย 5 คน  มีจำนวนพื้นที่ถือครองในครัวเรือนเฉลี่ย 2.37 ไร่         มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 22,098.90 บาทต่อปี           มีจำนวนหนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 11,352.19 บาท มีการรับรู้

ข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกยาสูบเฉลี่ย 8 ครั้งต่อปี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมประเพณีด้านการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมอบรมและดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี          มีประสบการณ์ในการปลูกยาสูบเฉลี่ย 20 ปี เกษตรกร      ส่วนใหญ่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร และมีการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยาสูบอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยาสูบของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางบวก ได้แก่  การเข้าร่วมอบรมและดูงานด้านการเกษตร (Sig.=0.000) และปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ได้แก่ ระดับการศึกษา (Sig.=0.009) และจำนวนแรงงานในครัวเรือน (Sig.=0.003)

เกษตรกรประสบปัญหาในการปลูกยาสูบ คือ         1) การพังทลายของหน้าดินเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ลาดชัน       2) ต้นทุนการผลิตมีราคาสูง โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงาน ค่าปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช 3) ผลผลิตได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ภัยแล้งและน้ำป่าไหลหลาก และ 4) ราคาใบยาสูบอบแห้งที่ค่อนข้างต่ำ โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้ 1) ควรจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอในช่วงการเริ่มต้นปลูกยาสูบ 2) ควรถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมรับมือ กับภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3) ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและการตลาด วิธีป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชอย่างถูกวิธีในระบบเกษตรปลอดภัย และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใบยาสูบ และ 4) ควรมีการแก้ไขปัญหาต้นทุนในการผลิตที่สูงและราคาใบยาสูบอบแห้ง ที่ตกต่ำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

References

Chanthavilay, K. 2016. The Teaching Handbook of Economical Cropping. Louangprabang: Northern Agriculture and Forestry College. 11 p.

Fongvanh, B. 2017. Interview by Saysamone Phoydouangsy 20 July 2017. Vientiane: Ministry of Finance. 188 p.

Kanjanasamranwong, P. 2017. Principles of Statistics. Nonthaburi: IDC Premier. 568 p. [in Thai].

Kessung, P. 2016. Action Research. Bangkok: Chulalongkorn University Press. 301 p. [in Thai].

Ministry of Planning and Investment. 2016. 8th Five-Year National Socio-Economic Development Plan (2016-2020). Vientiane: Department of Planning. 194 p.

Phengawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Sciene Research. Bangkok: Suveeriyasarn. 428 p. [in Thai].

Phoydouangsy, S., P. Wongpit and X. Lassachac. 2018. Livelihood in Tobacco Farming and Cigarette Consumption in LAO PDR. Vientiane: Southeast Asia Tobacco Control Alliance. 44 p.

Prasitrathasint, S. 2002. Applications of Statistical Methods in Research. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 352 p. [in Thai].

Punyawadee, V. 2008. Driven to the way of safe food from toxins: the case of growing vegetables. Thammasat Economic Journal 26(1): 107-127.

Sanponhan, K. and P. Prapatigul. 2018. Factors affecting adoption of using organic fertilizers of growers’ mango Namdokmai Sithong export in Phrao district, Chiang Mai province. Khon Kaen Agriculture Journal 46(Suppl.1): 887-893.

Sudcha, W. and P. Kiatsuranont. 2019. Adoption of Trichoderma sp. application on seasonal rice production of farmers in Kalasin province. Khon Kaen Agriculture Journal 47(1): 151-158. [Online]. Available https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=47-1_13_120 611 (8 November 2018).

Sujaritturakarn, W. and J. Tanapanyaratchawong. 2010. Factors Influencing the adoption of production techniques and applications of organic fertilizer for farmers in Hatyai district, Songkhla province. Suranaree Journal of Social Science 4(1): 29-44.

Suwatthi, P. 1998. Principles of statistics. NIDA Development Journal 38(3): 103-130. [in Thai]

World Health Organization. 2015. Lao Health Survey 201. Vientiane: WHO Vientiane Office. 6 p.

Yamane, T. 1973. Statistics: An introductory Analysis. New York: 3.S.l. Harper International. 886 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-08-2020