ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร, อำเภอสันทราย, จังหวัดเชียงใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับความคาดหวังต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกร และ 4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกร ในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรในพื้นที่อำเภอสันทราย จำนวน 350 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีสถานภาพสมรส มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีสมาชิกวัยแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีรายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 155,659.90 บาทต่อปี มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 6 ไร่ ได้รับข่าวสารบ้านเมืองจากสื่อต่างๆ เฉลี่ย 25 ครั้งต่อเดือน ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน เข้าร่วมประเพณีของหมู่บ้านหรือชุมชนเฉลี่ย 5 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมกิจกรรมการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้งต่อเดือน เข้าร่วมฝึกอบรมและดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี และมีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 22 ปี และเกษตรกรมีความคาดหวังต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ตัวแปรอิสระ คือ เพศ สถานภาพ สมาชิกในครัวเรือน และการเข้าร่วมประเพณีของหมู่บ้านหรือชุมชน มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม คือ ความคาดหวัง ต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเกษตรกร ในการปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานส่งเสริมการเกษตร พบว่าเกษตรกรไม่ทราบถึงช่องทางและวิธีการติดต่อหรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ขาดการติดตามผลงานจากการส่งเสริม และเจ้าหน้าที่ไม่มีการศึกษาความต้องการของเกษตรกรก่อนการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ และมีข้อเสนอแนะว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรมีการประชาสัมพันธ์ช่องทาง หรือวิธีการติดต่อ หรือจัดศูนย์รับฟังปัญหาของเกษตรกร หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมควรมีการติดตามเยี่ยมเยียนเกษตรกรในพื้นที่ความรับผิดชอบ อยู่เสมอ และควรมีการศึกษาความต้องการและความพร้อมของเกษตรกรก่อนการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ
References
Department of Agriculture Extension. 2016. The Department of Agriculture Extension Strategy. Bangkok: Planning Division, Department of Agriculture Extension. 24 p. [in Thai].
Kongtrakultaen, M. 2009. The Developmental Path of Thai Agricultural Extension. Bangkok: Siam Aksorn Bublishing. 126 p. [in Thai].
Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2016. Agricultural Development Plan during the Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok: Ministry of Agriculture and Cooperatives. 66 p. [in Thai].
Pangthaisong, N. and C. Wongsamun. 2017. Expectations towards extension on native chicken production and marketing of farmers in Khon Kaen province. Khon Kaen Agriculture Journal 45(suppl1): 1503-1508. [in Thai].
Phengsawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Science Research. Bangkok: Suveeriyasarn. 428 p. [in Thai].
Prasitrathasint, S. 2002. Applications of Statistical Methods in Research. Bangkok: Fueang Fa Printing House. 352 p. [in Thai].
Saengduangdee, S. 2013. Communication factors affecting adoption and supporting demand of non-chemical agriculture of farmers in Lamphaya sub-district, Amphoe Banglen, Nakhon Pathom province. Journal of Communication Art Review. 16(2): 57-59. [in Thai].
Sripua, N. and P. Prapatigul. 2017. Needs for extension of beef cattle farmers in Mahasarakham province. Pawarun Agriculture Journal 14(1): 104-112. [in Thai].
Suwatthi, P. 1998. Principles of Statistics. NIDA Development Journal. 38(3): 103-130. [in Thai].
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis 3rd. New york: Harper and Row Publication. 1130 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร