กระบวนการและเงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พรรณวิภา โชคพิกุลทอง สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม
  • นพพร จันทรนำชู สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนาสมาร์ทฟาร์มเมอร์ , ความสำเร็จของการพัฒนา , จังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

         

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและเงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ สมาร์ทฟาร์มเมอร์ต้นแบบในจังหวัดนครปฐม ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม เจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสมาร์ทฟาร์มเมอร์ รวม 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการศึกษาเอกสาร แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก และนำเสนอผลการวิจัยในลักษณะเชิงพรรณนาและพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ในจังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย 1) กระบวนการ   พัฒนาเพื่อใช้ปัจจัยการผลิตอย่างคุ้มค่า 2) การผลิต    ตามความต้องการโดยวางแผนก่อนการผลิตสินค้า  3) การจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 4) การจัดการการตลาดหลายรูปแบบโดยมีตลาดหลายระดับรองรับ สำหรับเงื่อนไขความสำเร็จของการพัฒนาเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ประกอบด้วย 1) การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม 2) การจัดการองค์ความรู้อย่างมีเป้าหมาย 3) ความภูมิใจที่เป็นเกษตรกรส่งผลให้เกิดความรักและหวงแหน 4) การเป็นผู้ประกอบการที่ดี  โดยสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและตลาด 5) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายในและภายนอก

References

Allahyari, M.S. 2016. Agricultural experts’ attitude towards precision agriculture: evidence from Guilan Agricultural Organization, Northern Iran. Information Processing in Agriculture 3(1): 183-189.

Chen, M.H., Y.Y. Chang and C.Y. Lee. 2015. Creative entrepreneurs' guanxi networks and success: information and resource. Journal of Business Research 68: 900-905.

Department of Agricultural Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives. 2017. 20 Years agriculture extension strategic plan and 5 years acting plan. [Online]. Available https://ssnet.doae.go.th/wp-content/uploads/2017/10/PPT_แผนยุทธ์ศาสตร์ฯ20ปี_-1.pdf (September 22, 2019). [in Thai]

Food and Agriculture Organization of the United Nations. 2018. The Future of Food and Agriculture – Alternative Pathways to 2050. Summary version. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations. 64 p.

Grebitus, C. 2017. Relationship between consumer behavior and success of urban agriculture. Ecological Economics 136: 189-200.

Karlsson, N.P.E., F. Halila, M. Mattsson and M. Hoveskog. 2017. Success factors for agricultural biogas production in Sweden: a case study of business model innovation. Journal of Cleaner Production 142(1): 2925-2934.

Makinen, H. 2013. Farmers’ managerial thinking and management process effectiveness as factors of financial success on finnish dairy farms. Agricultural and Food Science 22: 452-465.

Muhammad, A., A.U. Mohammad, S. Zubair, M. Ali and M. Aggoune. 2019. Internet-of-Things (IoT) Based Smart Agriculture: Towards Making the Fields Talk. IEEE Access 7: 129551-129583.

Nakhon Pathom Provincial Agricultural Extension Office. 2017. The agricultural development plan of Nakhon Pathom province. [Online]. Available http://www.nakhonpathom.doae.go.th/ (September 22, 2019). [in Thai]

Neumann. 2016. Human factors in production system design and quality performance – a systematic review. IFAC-PapersOnLine 49(12): 1721-1724.

Nuraeni, A. Muchdar, L. Basri, M. Jusoff and M.D. Basri. 2013. The influence of internal and external factors on farmers’ perception and participation in Jeneberang watershed conservation. World Applied Sciences Journal 22(11): 1639-1643.

Pivoto, D., P.D. Waquilb, E. Talaminib, C. Finocchioc, C.V. Dalla and M.G. Vargas. 2018. Scientific development of smart farming technologies and their application in Brazil. Information Processing in Agriculture 5: 21-32.

Schuttelaar and Partners. 2017. Smart farming is key for the future of agriculture. [Online]. Available https://www.schuttelaar.partners.com/news/2017/smart-farming-is-key-for-the-future-of-agriculture (September 22, 2019).

Skobelev, P.O., E.V. Simonova, S.V. Smirnov, D.S. Budaev, G.Y. Voshchuk and A.L. Morokov. 2019. Development of a knowledge base in the “smart farming” system for agricultural enterprise management. Procedia Computer Science 150: 154-161.

Zhang, Y.Y., G.W. Ju and J.T. Zhan. 2019. Farmers using insurance and cooperatives to manage agricultural risks: a case study of the swine industry in China. Journal of Integrative Agriculture 18(12): 2910-2918.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-08-2023