การใช้สารชีวภาพของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยนอกฤดูอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • สามารถ ใจเตี้ย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สิวลี รัตนปัญญา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สารชีวภาพ, การยอมรับของเกษตรกร , ลำไยนอกฤดู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้  เจตคติ และการใช้สารชีวภาพของเกษตรกรผู้ผลิตลำไยนอกฤดู  2) พยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารชีวภาพของเกษตรกร และ 3) สังเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการใช้สารชีวภาพในการผลิตลำไยนอกฤดู กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกร จำนวน 330 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการผลิตลำไยนอกฤดู จำนวน 15 คน ในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรมีความรู้ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 8.58)  มีเจตคติต่อการใช้สารชีวภาพระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.71) และใช้สารชีวภาพในการผลิตลำไยนอกฤดูระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.32) จำนวนแรงงานในครัวเรือน และเจตคติต่อการใช้สารชีวภาพในการผลิตลำไยนอกฤดูพยากรณ์การใช้สารชีวภาพของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P–value = 0.000 และ 0.000 ตามลำดับ)  ทั้งนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการใช้สารชีวภาพในการผลิตลำไยนอกฤดู โดยการสนับสนุนข้อมูล และสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารชีวภาพ

References

Agricultural Extension Office of Lamphun. 2018. Longan production in Lamphun province 2018. [Online.] Available: http://www.lamphun.doae.go.th/ (March 23, 2020). [in Thai]

Archalaka, P. and A. Lertrat. 2007. Studies longan production in the East. Thai Agricultural Research Journal 25(1): 2-17. [in Thai]

Brian, S.E. 2009. Mulitivariable Modeling and Mulitivariate Analysis for the Behavioral Sciences. Boca Raton: CRC. 320 p.

Cronbach, L.J. 1951. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika 16: 297-334.

Daniel, W.W. 2010. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9thed.). New York: John Wiley & Sons. 956 p.

Jaitae, S., S. Rattanapunya and O. Taood. 2021. Social impact of farmers on off–season longan production in Banhong district, Lamphun province. Journal of Agricultural Production 3(2): 85-94. [in Thai]

Jarassamrit, N., M. Thisawech, W. Phakham and B. Phichairath. 2019. The study of chemical fertilizer application rates in off-season longan (Dimocarpus longan Lour.) production. Journal of Agricultural Production 1(2): 77-84. [in Thai]

Kayarit, A. 2010. Cost-return Analysis on Off-season Longan Production in Khaopra Subdistrict, Rattaphum District, Songkhla Province. Master Thesis. Prince of Songkla University. 113 p. [in Thai]

Khamwang, K. 2010. Factors Affecting Off-season Longan Production of Farmers, Chiang Mai Province. Independent Study. Chiang Mai University. 104 p. [in Thai]

Maneechoti, S. and D. Athinuwat. 2019. Success impacts on organic farming in small farmer community in Nakhon Sawan province. Thai Journal of Science and Technology 8(6): 596-608. [in Thai]

Matthew, B.M. and A.M. Huberman. 1994. Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. 2nd ed. London: SAGE Publications. 338 p.

Na-Nakorn, P., S. Deesripan, S. Sarirat and W. Kaewduangta. 2013. Development of the Appropriate Pest Control Technology for Organic Longan. 47 p. In Research Report. Chiang Mai: Maejo University. [in Thai]

Office of Agricultural Economics. 2019. Agricultural production data. [Online]. Available http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/longan%2062%20dit.pdf (March 30, 2020). [in Thai]

Sarabun, S. 2016. Young smart farmer development guideline into the agriculture sector. [Online]. Available http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_25602561/PDF/8562e/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf (March 30, 2020). [in Thai]

Sawaka, S. 2016. Occupational Hazards, Work-related Illnesses and Injuries among Longan Gardener, Pratupha Sub-district, Mueang Lamphun District, Lamphun Province. Independent Study. Chiang Mai University. 114 p. [in Thai]

The Public Relation Department Region 3 Chiang Mai. 2020. Longan report in Lamphun province 2020. [Online]. Available https://region3.prd.go.th/topic/news/10717 (March 30, 2020). [in Thai]

Tran, H., H. Nguyen Van and J. Sidhu. 2019. Integrated pest management of longan (Sapindales: Sapindaceae) in Vietnam. Journal of Integrated Pest Management 10(1): 1-10.

Yen, C.R., C.N. Chau, J.W. Chang and J.C. Tzeng. 2005. Longan production in Taiwan. Acta Hortic. 665: 61-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-04-2023