ผลของการเสริมกรดแอสคอร์บิคในน้ำยาเจือจางต่อคุณภาพน้ำเชื้อ ที่ระยะเวลาในการเก็บรักษาต่างๆ

ผู้แต่ง

  • วิชชุดา ยินดี สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ สุรินทร์
  • เบญญาภา สุรสอน สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • กนกกาญจน์ รีบเร่งรัมย์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วรพรภัฎ ปัดภัย สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นันทา สมเป็น สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ณัฏฐวรรณ สมนึก สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

กรดแอสคอร์บิค , น้ำเชื้อสด , ระยะเวลาใน การเก็บรักษา, คุณภาพน้ำเชื้อ , ไก่พื้นเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการเสริมกรดแอสคอร์บิค        ในน้ำยาเจือจาง ต่อคุณภาพน้ำเชื้อแบบสดและแบบเหลวของพ่อพันธุ์ไก่พื้นเมือง (ประดู่หางดำ) โดยทดสอบถึงระดับที่เหมาะสมในการเสริมกรดแอสคอร์บิคต่อคุณภาพน้ำเชื้อแบบสดและแบบเหลว ของพ่อพันธุ์ไก่พื้นเมือง (ประดู่หางดำ) ด้วยการเสริมกรดแอสคอร์บิคในระดับที่แตกต่างกัน คือ 0, 10, 20 และ 30 mM ในน้ำยาเจือจางสูตร Schramm diluents หลังจากเก็บรักษาน้ำเชื้อสดและแบบเหลวที่เจือจางแล้ว ที่ไว้ในอุณหภูมิ 4°ซ. เป็นระยะเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ศึกษาร้อยละการเคลื่อนที่แบบหมู่และร้อยละการเคลื่อนที่แบบตรงไปข้างหน้า ของตัวอสุจิ ความเข้มข้นของตัวอสุจิ ร้อยละของตัวอสุจิ         ที่มีชีวิต ผลการทดลองพบว่า การเสริมกรดแอสคอร์บิค      แต่ละระดับไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในคุณภาพน้ำเชื้อแบบสด ให้ร้อยละการเคลื่อนที่แบบหมู่ของตัวอสุจิ ร้อยละของตัวอสุจิที่เคลื่อนที่ตรงไปข้างหน้า ร้อยละของตัวอสุจิที่มีชีวิต และความเข้มข้นของตัวอสุจิ และการเสริมกรดแอสคอร์บิคในระดับที่แตกต่างกันในคุณภาพน้ำเชื้อแบบเหลว ที่เก็บในอุณหภูมิ 4°ซ. เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ให้ร้อยละการเคลื่อนที่แบบหมู่ของตัวอสุจิแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยการเสริม Ascorbic acid 30 mM ให้ร้อยละการเคลื่อนที่แบบหมู่ของตัวอสุจิดีที่สุด (3.12±1.41) รองลงมาคือ การเสริม Ascorbic acid 20, 10 และ 0 mM ตามลำดับ (2.75±2.36, 2.75±2.62 และ 2.25±1.15 ตามลำดับ) แต่เมื่อเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 48 และ 72 ชั่วโมง พบว่าให้ร้อยละการเคลื่อนที่แบบหมู่ของตัวอสุจิ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

 

References

Chalah, T., F. Seigneurin, E. Blesbosis and J.P. Brillard. 1999. In Vitro comparison of fowl sperm viability in ejaculated frozen by three different techniques and relationship with subsequent fertility in vivo. Cryobiology 39: 185-191.

Chetna, G., S.D. Kharche, R. Ranjan, S. Kumar, A.K. Goel, S.K. Jindal and S.K. Agarwal. 2015. Effect of vitamin C supplementation on freezability of Barbari buck semen. Small Ruminant Research 129: 104-107.

Duangdee, N. 2018. Antioxidant. [Online]. Available https://www.dss.go.th/images/starticle/cp_2_2551_Antioxidant.pdf (13 November 2020).

Esmat, M., A.R. Talebi, M. Anvari, F. Taheri, M. Vatanparast, T. Rahiminia and A. Hosseini. 2018. Vitamin C attenuates negative effects of vitrification on sperm parameters, chromatin quality, apoptosis and acrosome reaction in neat and prepared normozoospermic samples. Taiwanese Journal of Obstetrics & Gynecology 57:200-204.

Jafaroghlia, M., H.A. Benemarb, M..J. Zamiric, B. Khalilid, A. Farshade and A.A. Shadparvar. 2014. Effects of dietary n−3 fatty acids and vitamin C on semencharacteristics, lipid composition of sperm and bloodmetabolites in fat-tailed Moghani rams. Animal Reproduction Science 147: 17-24.

Long, J.A. 2006. Avian semen cryopresservation: What are the biological challenges? Poultry Science 85: 232-236.

Margherita, M., C. Annelisse, S. Simona, C. Lorenzo, R. Silvia, R. Isabella and F. Antonio. 2013. A proteomic approach to identify seminal plasma proteins inroosters (Gallus gallus domesticus). Animal Reproduction Science 140: 216-223.

Mariane L.F., S.B. Cristiano, A.P. Tatiana, J.G. Francisco, A.O. Marco and A.O. Rodrigo. 2016. Quality of fresh, cooled, and frozen semen from stallions supplemented with antioxidants and fatty acids. Journal of Equine Veterinary Science 46: 1-6.

Mohsen, G.A. 2021. Use of antioxidants to augment semen efficiency during liquid storage and cryopreservation in livestock animals: a review. Journal of King Saud University–Science 33: 101226.

Mustafa, S., A.F. Farrag, A.E. Almadaly, A.H. Ghoneim, S.A. Hafez, K. Soad, A. Jaouni, A.S. Mousa and A.H. El-Far. 2020. Transcriptomic and biochemical effects of pycnogenol in ameliorating heat stress-related oxidative alterations in rats. Journal of Thermal Biology 93: 102683.

Sajeda, M.E. 2016. Effect on post-cryopreserved semen characteristics of Holstein bulls of adding combinations of vitamin C and eithercatalase or reduced glutathione to Tris extender. Animal Reproduction Science 167: 1-7.

Sexton, T.J. 1988. Influence of damage spermatozoa on the fertility of turkey semen stored 24 h at 5°C. Poultry Science 67: 1483-1485.

Vongpralub, T. and Y. Phasuk. 2007. Cryopreservation and Artificial Insemination in Thai Native Chicken. Khon Kaen: Department of Animal Science, Faculty of Agriculture,Khon Kaen University. 62 p. [in Thai]

Vongpralub, T. 2008. Develoment of semen cryopreservation and artificial insemination techniques in Thai native Chicken. 129 p. In Thai National Research. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). [in Thai]

Yaemkong, S. 2014. Diversity of phenotypic characteristics of Thai indigenous chicken in Phitsanulok province. Rajabhat J. Sci. Humanit. Soc. Sci. 15(2): 63-73. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-04-2022